วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หลวงพ่อนวล พระกริ่งองค์ลอย 72ปี




หลวงพ่อนวล พระกริ่งองค์ลอย 72ปี

เหรียญ ร.9 ครบรอบ 5 ธันวา 2506




เหรียญ ร.9 ครบรอบ 5 ธันวา 2506

เหรียญหลวงพ่อตุด วัดโคกตะไคร้





เหรียญหลวงพ่อตุดวัดโคกตะ
ไคร้ อีกหนึ่งเกจิเมืองคอน.......

หลวง พ่อคล้าย เรียกพ่อท่านตุดว่าตุดฤาษี เพราะว่าหลวงพ่ อตุด ชอบอยู่ในป่าและในป่าช้า ชอบปลีกวิเวก สมัยก่อนวัดท่านอยู ่ในป่า ท่านชอบให้ข้าว ที่บิณบาตรให้สัตว์ จนสัตว์ต่าง ๆ มาอยู่ในวัดเยอะ แม้กระทั่งงูเหลือม และสัตว์เลื้อยคลาน มาอยู่เพราะบารมีท่าน แต่สมัยก่อนมีคนไปยิงงูเหลือมในวัดท่าน ท่านห้ามปราบก็มิฟัง

ท่าน ก็เลยเอ๋ยวาจาว่าท่าจะบ้าแล้วนิไอ้บ่าวนี้ นับแต่นั้นมา คนที่ยิงงูเหลือมก็บ้าดังคำวาจาท่านจริง นับว่าหลวงพ่อตุด เป็นพระที่มีวาจาสิทธิ์ยิ่ง หลวงพ่อตุด วัดโคกตะไคร้ ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่กลาย วัดหาดสูง ซึ่งได้ฝากตัวกับหลวงปู่กลาย เป็นศิษย์ก่อนพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ และก่อนหลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก ประวัตินั้นไม่ได้ค่อยบันทึกกันโดยสมัยก่อน แต่คำเล่าลือของหลวงพ่อตุด วัดโคกตะไคร้นั้นดังมาก่อนพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ แต่ไม่มีคนรู้จักกันมาก เหรียญนี้บล๊อคนิยม"โค๊ะแตก"ครับ

คำเล่า ลือของหลวงพ่อตุด วัดโคกต ะไคร้สมัยนั้นที่ท่านยังมีชีวิตอยุ่เล่ากันว่า หลวงพ่อตุด อยู่ วัดพรุกง หลวงพ่อคล้ายอยู่วัดสวนขัน ดังนั้นหลวงพ่อตุด ลองวิชา กับพ่อท่านคล้าย โดยการโยนช้อนที่ฉันข้าวไปยังวัดสวนขัน วัดที่ หลวงพ่อคล้ายจำพรรษาอยู่ และหลวงพ่อคล้ายก็โยนช้อนกินข้าวไปให้พ่อท่านตุด อีกทีหนึ่ง นี้เป็นคำเล่าลือของลูกศิษย์พ่อท่านคล้ายกัน สมัยก่อนแถวอำเภอฉวาง ไปหาห้วยกันมาก

วัดหลวงพ่อตุด ก็วัดหนึ่งที่สมัยก่อนบางคนจะไปหา สมัยนั้นพ่อท่านตุด ไม่ได้สร้างเหรียญ แต่ได้สร้าง ทิศหมอนให้คนที่เป็นลูกศิษย์ พ่อท่านตุด พูดว่า ของจากท่านนั้น ถึงเวลามีภัย ไม่ต้องสู้ ให้วิ่งอย่างเดียว ปืนยิ่งไปถูกหรอก นี้คือคำพูดหลวงพ่อตุด ที่เขาเล่าลือกัน โดยมากเหรียญหลวงพ่อตุด

นักเลงแถวนั้นชอบใช้กันมาก โดยไม่ใส่ตลับพระ จะเห็นว่าบางองค์พระจะสึกมาก โดยมากจะใส่ไว้ที่แขวน แล้วใช้ผ้าพันอีกทีหนึ่งในสมัยก่อน ถ้าจะกล่าวถึงลูกศิษย์ลูกหา ที่โดดเด่นของพ่อท่านกลาย วัดหาดสูง ตลาดทานพอ อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช ก็มี "พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ แห่งวัดสวนขัน"

"พ่อท่านแดง เจ้าของเหรียญ แลกชีวิต แห่งวัดภูเขาหลัก" และยังมีอีกองค์ที่ขาดไม่ได้ลูกศิษย์ลูกหาสายนี้ต้องแสวงหาเหรียญท่าน คือ "พ่อท่านตุด วัดโค๊ะตะไคร" ซึ่งพ่อท่านคล้ายเรียกท่านว่า ฤาษีในกรง คือท่านนุ่งห่มจีวรย้อมด้วยสีเปลือกไม้ทำให้จีวรท่านกระดำ กระด่างเหมือนฤาษี และอยู่แต่ในป่าไม่ไปไหนเหมือนฤาษีในกรง ซึ่งท่านมีวิชาแก่กล้ามากครับ

เหรียญพระพุทธมิ่งเมืองทักษิณ ปี 2522




เหรียญพระพุทธมิ่งเมืองทักษิณ ปี22
(ในหลวงเททอง) เหรียญพระพุทธมิ่งเมืองทักษิณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่9 เสด็จพระราชดำเนินเททอง ออกที่วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ปี 2522 เป็นเหรียญพิมพ์ ใหญ่ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2.3 X 4.2 c.m. ด้านหลังมีรูปพระเจดีย์วัดบรมธาตุ พุทธศิลป์สวยงาม รายละเอียดชัดเจนโดยเฉพาะรูปพระบรมธาตุ

เหรียญพ่อจ่าดำ ปี2525




เหรียญพ่อจ่าดำ ปี2525 ราคา700

หลวงพ่อทวด รุ่น 9 รอบ 9 พิธี 108ปี ขุนพันธุ์




9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์
(หลักเมืองรุ่นพิเศษ) วัดหน้าพระธาตุ
อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช


ผง ยาวาสนามมหาจินดามณี โอสถอันพิลาศ เลิศล้ำตำราในโลกแผ่นดิน ผู้ใดบูชาจะสวัสดิ์โกภิณกว่าคนทั้งหลาย พัสดุเงินทองจักพูนกูลนองกว่าโลกหญิงชาย นำมาบูชาอภิวาทถ์มิวาย ระงับอันตรายทั้งสี่กริยา โทษหนักเท่าบาตร มาตรแม้นประจักษ์ถึงกาลมรณา ถ้าแม้นบูชาซึ่งยาวาสนา กลับน้องถอยครา เคลื่อนคลายหายเอย

พิมพ์ทรงสวยงาม มวลสารสรรค์เลิศล้ำ พิธีกรรมเข้มขลังอลังการ
นับ เป็นวัตถุมงคลที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญถึงความเพียบพร้อม สมบูรณ์ในทุกๆ ด้านที่สุดยอดวัถุมงคล พึงมีพึงกระทำอันจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชาสักการะ
- รูปแบบพิมพ์ทรง กล่าวได้ว่าในการจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อกุศลเจตนาโดยคุณณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช ทุกครั้งทุกรุ่นจะได้รับการยกย่องกล่าวขานในด้านศิลปะอันงดงามและในรุ่น 9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์ (หลักเมืองรุ่นพิเศษ) ก็เช่นกันที่ได้สรรค์สร้างอย่างงดงามยิ่งทุกแบบทุกพิมพ์มีความละเอียดลออ ประณีตพิถีพิถันทุกสรรพสิ่งที่ปรากฏในองค์วัตถุมงคล การนำรูป จำลองศาลหลักเมืองประทับไว้เพื่อบ่งบอกถึงคุณค่าความเป็นวัตถุมงคล “หลักเมืองรุ่นพิเศษ” อย่างสมบูรณ์
- ชนวนมวลสาร หัวใจสำคัญในการจัดสร้างวัตถุมงคงให้บังเกิดความเลิศล้ำ สิ่งที่ไม่อาจละเลยมองข้ามได้ก็คือการแสวงหามวลสารศักดิ์สิทธิ์มาผสมผสานลง ในเนื้อหาดังเช่นรุ่น 9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์ (หลักเมืองรุ่นพิเศษ นี้ได้มีความวิริยะอุตสาหะแสวงหามวลสารมากมายมาเป้นส่วนผสม นอกเหนือจากมวลสารหลักคือผงมวลสารว่าศักดิ์สิทธิ์นับร้อยนับพันชนิดของ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งต่อมาได้บังเกิดเป็นมวลสาร ของวัตถุมงคลหลายรุ่นผ่านพิธีประจุพุทธาคมทับถมกันครั้งแล้วครั้งเล่าจนทุก วันนี้ อาทิรุ่น ขุนพันธ์พุทธาคมเขาอ้อ รุ่นมงคลจักรวาล พุทธาคมเขาอ้อ รุ่นเจ้าสัวเบตง รุ่นบูรณะหลักเมืองนครศรีฯ 2547 รุ่นพุทธศิลป์ย้อนยุค วันนาสน รุ่นไตรภาคีศรีนคร วัดนางตรา รุ่นพุทธามหาเวท วัดศาลาไพ รุ่นพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง วัดหน้าพระบรมธาตุ ซึ่งล้วนแล้วแต่นำมวลสารมาผสมในรุ่นนี้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังได้แสวงหามวลสาระสำคัญย้อนรอยตำนานหลวงพ่อทวด หลายแห่งที่มีความเกี่ยวพันกับท่านอันมีมวลสารจากวัดช้างให้ วัดพะโค๊ะ วัดดีหลวง วัดสีหยัง วัดโพธิเจติยาราม มาเลเซีย สำนักสงฆ์ต้นเลียบ นาเปล ศาลาหลวงพ่อทวดท่าแพ วัดเสมเมือง วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร วัดหัวลำภูใหญ่ ศาลาหลวงพ่อทวดบ้านโกฏ วัดเขาอ้อ วัดแค อยุธยา และที่เลิศล้ำสำคัญยิ่ง คือมวลสารพระผงพระพุทธชินราช ภ.ป.ร. ซึ่งมีส่วนผสมของผงพระเบญจภาคี และผงในหลวงพระราชทาน คือ ผงจิตรลดา
-พิธีกรรมมหามงคล นับเป็นความยิ่งใหญ่อลังการซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน ในประวัติศาสตร์การจัดสร้างวัตถุมงคลในเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะองค์ท้าวจตุคาม และท้าวรามเทพ แม้กระทั่ววัตถุมงคลหลวงพ่อทวด ซึ่งในการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่น 9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์ (หลักเมืองรุ่นเศษ) อันทรงคุณค่าครั้งนี้ได้มุ่งมั่นประกอบพิธีรวม 9 วาระมหามงคล เพื่อให้บังเกิดความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ชนิดมิอาจประมาณได้ นอกจากเนื้อหาภายในจะมีความศักดิ์สิทธิ์ทุกอนุเนื้อ ภายนอกยังได้เคลือบทัพพลังพุทธาคมอย่างเข้มทรงพลังหลายวาระ ซึ่งจะส่งผลให้วัตถุมงคล รุ่น “9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์” (หลักเมือง รุ่นพิเศษ) นี้บรรลุถึงความเป็นวัตถุมงคลกฤตยาคมแฝด ซึ่งโบราณจารย์เรียกขานกันว่าดีตั้งแต่เนื้อในยันผิวนอก เข้มขลังไม่มีวันเสื่อม
วาระที่ 1 ได้ประกอบพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณหลวงพ่อทอด เมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 08.19 น. ณ ศาลาหลวงพ่อทวด วัดท่าแพ (สถานที่ซึ่งหลวงพ่อทวดผูกแพกลางน้ำเพื่ออุปสมบท)
วาระที่ 2 ได้ประกอบพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณหลวงพ่อทวด เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 13.19 น. ณ ศาลาหลวงพ่อทวด วัดเสมาเมือง (สถานที่ซึ่งหลวงพ่อทวด เมื่อครั้งเป็นสามเณร ได้มาศึกษาพระธรรมวินัย)
วาระที่ 3 ได้ประกอบพิธีบวงสรวงขออนุญาติ หน้าสถูปเจดีย์ ณ วัดช้างให้ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2547
วาระ ที่ 4 ประกอบพิธีบวงสรวงปลุกเสกปรุงยาวาสนามหาจินดามณีต่อหน้าเบื้องพระพักตร์องค์ พระพุทธปฏิมาโดยพระอาจารย์สมพงษ์ วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร เป็นเจ้าพิธีกรรมฝ่ายสงฆ์ และอาจารย์ เอกวิทย์ ยอดระบำ ศิษย์เอก พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธีกรรมฝ่ายฆราวาส ณ วิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันที่ 20 มีนาคม 2549
วาระที่ 5 ประกอบพิธีบวงสรวงเทพยดา เปิดพิมพ์พระผงยาวาสนามหาจินดามณีนำฤกษ์ และเททอง รูปเหมือนหลวงพ่อทวดนำฤกษ์ รวมทั้งเททองโลหะชนวนทุกเนื้อคือ ทอง นาก เงิน นวโลหะ ฝ่าบาตร ทองแดง เพื่อนำชนวนเนี้อไปจัดสร้างเหรียญ ทุกแบบพิมพ์ (เป็นการปลุกเสกเนื้อใน) ณ วัดหน้าพระบรมธาตุ ในวันที่ 23 มีนาคม 2549
วาระที่ 6ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเป็นปฐมฤกษ์ ณ ศาลหลักเมือง จ.นครศรีธรรมราช ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2549
วาระที่ 7 ประกอบพิธีปลุกเสกกลางทะเล ที่ปากน้ำชุมพร สถานที่ซึ่งหลวงพ่อทวดจุ่มเท้าเหยียบ น้ำทะเลจืด ในวันที่ 4 มิถุนายน 2549
วาระที่ 8 ประกอบพิธีบวงสรวงพุทธาภิเษก ณ สำนักวัดเขาอ้อ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2549
วาระที่ 9 ประกอบพิธีบวงสรวงสมโภชพุทธาภิเษกกลางหาว รับแสงสุริยันจันทรา ณ วัดหน้าพระบรมธาตุ ในวันที่ 10 มิถุนายน 2549
เป็น ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าปัจจุบันนี้วัตถุมงคลที่นับเป็นสุดยอดแห่ง เมืองทักษิณที่มีผู้แสวงหากันอย่างกว้างขวางในค่านิยมที่สูงยิ่ง คือ พระหลวงพ่อทวดเนื้อว่านพิมพ์เตารีด ปี 2497 หรือ แม้กระทั่งพิมพ์อื่นๆ ซึ่งสร้างในลำดับต่อมายุคสมัย พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ สำหรับวัตถุมงคลในยุคหลังไม่ถึงยี่สิบปีที่กำลังโด่งดังค่านิยมสูงขึ้นอย่าง รวดเร็ว แต่ก็ยังมีผู้ศรัทธา เสาะแสวงหากันอย่างกว้างขวางคือ พระผงสุริยัน จันทราท้าวจตุคาม-ท้าวรามเทพ ปี 2530 และเหรียญพระปิดตาพังพะกาฬ ปี 25322532 วัตถุมงคลหลักเมือง ที่ค่านิยมระดับ หลักแสนบาท ในปัจจุบัน ทั้งองค์ ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ พังพะกาฬ และหวงพ่อทวดต่างมีผู้ศรัทธาเคาพรพบูชาขนานนามท่านว่า “พระโพธสัตว์แห่งอาณาจักรทะเลใต้”
วัตถุมงคลทรงคุณค่า รุ่น “ 9 รอบ 9 พิธี 108 ท่านขุนพันธ์” (หลักเมืองรุ่นพิเศษ) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญประการนี้จึงได้จัดสร้างย้อนตำนานวัตถุมงคลสามพระ โพธิสัตว์ผู้มากด้วยบุญญาบารมี ด้วยความพิถีพิถันให้ทรงคุณค่าเปี่ยมไปด้วยความเลิศล้ำเข้มขลัง ทรงอิทธิอานุภาพ อันจะนำพาไปบูชาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลได้อย่างสนิทใจ
พระ โพธิสัตว์ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ ถึงแม้ในห้วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาจะมีการสร้างวัตุมงคลรูปองค์ ของท่านกันมากในรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันตามความเชื่อถือ หากแต่ในการจัดสร้างโดยคุณณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช ซึ่งเป็นผู้กำหนดรูปแบบพิมพ์ทรงและในด้านพิธีกรรม จะยึดมั่นตามหลักฐานที่ปรากฏในวิหาร พระทรงม้า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร คือ จะต้องครบถ้วนทั้งสองพระองค์ ตามพระนามที่ปรากฏ คือท้าวจัตตุคาม และท้าวรามเทพ ทั้งพระผงและเหรียญในรุ่น “9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์” (หลักเมืองรุ่นพิเศษ) ก็ยังคงเป็นไปตาม เจตนาเดิมโดยด้านหลังได้อัญเชิญ องค์ท้าวจตุคามและองค์ท้าวรามเทพ ในลักษณะครึ่งพระองค์ภายในกลีบบัวลายไทยประทับสลับกัน โดยมีรูปศาลหลักเมืองจำลองอยู่กึ่งกลางพร้อมด้วยศาลาจตุรทิศครบถ้วนตามสถาน ที่จริง พร้อมทั้งมีอักษรจารึกไว้ว่า “หลักเมืองรุ่นพิเศษ” นอกจากนี้ยังได้มีการจัดสร้างเหรียญเศียรเจ้าพ่อหลักเมือง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเหรียญแสตมป์ขึ้นด้วยอีกหนึ่งพิมพ์ โดยกำหนดให้เป็นยันต์กลับเพื่อกลับร้ายให้กลายเป็นดี กลับดีให้ทวียิ่งขึ้น

พระปิดตา พยัคฆ์ทักษิณ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง ปี2546




พระปิดตา พยัคฆ์ทักษิณ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง ปี2546
มหามงคลวัตถุรุ่นพยัคฆ์ทักษิณ พล.ต.ต.ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช จัดสร้างถวายวัดดอนศาลา จ.พัทลุง พิธีกรรมสุดเข้มขลัง 4 ครั้ง คือ 1. พล.ต.ต.ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ประกอบพิธีเจิม อธิฐานจิตประจุพุทธาคมเดี่ยว เพื่อจัดสร้างถวายวัดดอนศาลา จ.พัทลุง...2. พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2546 ...3.พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดมะม่วงขาว จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2546 ...และ 4.ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง โดยพระอาจารย์อุทัย เจ้าอาวาสวัดดอนศาลาร่วมกับคณะสงฆ์ผู้ทรงคุณ เป็นพระปิดตาจัมโบ้ รุ่นแรกของ จ.นครศรีธรรมราช และ จ.พัทลุง จัดสร้างขึ้น 2 แบบ คือปิดตาจัมโบ้มหาว่านดำ และปิดตาจัมโบ้มหาว่านขาว โดยผสมผงมหาว่านของพระอาจารย์เอียดไว้จำนวนมาก ในองค์พระโรยขนเสือ และพลอยไว้ด้วย (ส่วนหนังเสือสมิงนี้ก็ไม่ธรรมดา เพราะเป็นหนังเสือสมิงลายพาดกลอนตัวใหญ่ ที่พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เมื่อตอนรับราชการเป็นนายตำรวจ ออกไล่ล่าตามคำร้องทุกข์ของชาวบ้าน เนื่องจากเป็น เสือสมิงจึงดุร้ายล่องหนหายตัวได้ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช จำเป็นต้องใช้วิชากระสุนคด ที่เรียนมาจากพระอาจารย์เอียด จึงสมารถจัดการได้ ซึ่งวิชากระสุนคดคือการยิงกระสุน โดยไม่ต้องเห็นเป้าหมาย แต่กระสุนจะคดเคี้ยวเลี้ยวเข้าหาเป้าหมายได้เอง ในสมัยนั้นท่านขุนพันธ์ฯ ได้นำหนังเสือสมิงผืนนี้มอบให้ พระอาจารย์เอียดทำพิธีถอนอาถรรพ์ร้าย และประจุพุทธาคม ให้ด้วย) องค์นี้เป็นพระปิดตาผงมหาว่านขาว ตะกรุดเงิน 1 ดอก พุทธศิลป์สวยงาม เข้มขลังตามตำรับสายเขาอ้อ

พระกริ่งศรีพิพิธ อ.คล้อย วัดภูเขาทอง ปี 2533






พระกริ่งศรีพิพิธ อ.คล้อย วัดภูเขาทอง ปี 2533 ราคา1500

เหรียญเราหยุดแล้ว อ.คง วัดบ้านสวน ปี16




เหรียญเราหยุดแล้ว อ.คง วัดบ้านสวน ปี16 ราคา800
ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธรูปปางห้าม ญาติ ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อคง วัดบ้านสวน สร้างจากชนวนสารศักดิ์สิทธิ ที่เหลือจากพิธี เททองหล่อพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ณ.วัดบ้านสวน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เมื่อวันที่ 27-28 เมษายน พ.ศ.2520 ชนิดของชนวนสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น แผ่นทองคำ , แผ่นนาค , แผ่นเงิน , แผ่นทองแดง , แผ่นทองเหลือง ,แผ่นทองสัมฤทธิ์ จากพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ ที่ทราบข่าวและอธิฐานส่งมา , เงินโบราณตั้งแต่สมัยศรีวิชัย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ชนวนทองที่ในหลวง ( ร.9 ) ทรงเป็นองค์ประธานหล่อพระพุทธรูปและพระบรมรูป ทั่วประเทศ เหรียญหลวงปู่หลวงพ่อทุกองค์ทุกรุ่น ที่ทำพิธีปลุกเสกมีอภินิหารที่ผู้บูชา เคยมีประสบการณ์มาแล้ว จำนวนหลายพันเหรียญ , แร่โสฬสธาตุ จากชนวนพระโสฬสมงคล ของวัดแหลมทราย , วัดไชยมงคล จ.สงขลา , แร่โลหะธาตุวิเศษต่างๆ ของ อาจารย์ชุม ไชยคีรี พิธีพุทธาภิเศกเหรียญเราหยุดแล้ว มีพระอาจารย์ปาน ปาลธัมโม วัดเขาอ้อ เป็นประธานในพิธี ส่วนอาจารย์ชุม เป็นเจ้าพิธี หลังจากนั้น อ.ชุม ได้นำเหรียญเราหยุดแล้วทั้ห มดไป ปลุกเสกที่สำนักกุญแจไสยศาสตร์อีก 16 วัน 16 คืน และนำไปทำการปลุกเสกอธิฐานบรรจุคุณ ณ.วัดถ้ำแฝด ต.เขาลูกช้าง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี อีก 1 คืน และทำการทดลอง โดยให้คณะศิษย์จำนวน 35 คน ติดเหรียญเราหยุดแล้วที่หน้าอกเสื้อด้านขวา และ ให้ยืนบริเวณหน้าถ้ำ จากนั้น อ.ชุม ได้ใช้ปืนลูกกรดยิงข้ามศีรษะของคณะศิษย์ แต่ไกของปืนแข็ง และไม่ทำงาน แต่พอหันปากกระบอกไปทางอื่น ปืนกลับทำงานเป็นปกติ อ.ชุมได้ทดลองถึง 14 ครั้ง เป็นที่น่าอัศจรรย์ สมกับชื่อเหรียญเราหยุดแล้ว นอกจากนี้ยังมีพุทธคุณทางด้าน เมตตา มหานิยม ( การทดลองเหรียญเราหยุดแล้ว ยังมีการทดลองอีกหลายครั้ง แต่ก็ได้ดีผลทุกครั้ง อธิษฐานให้ศัตรูหยุดจากการจองเวร วิเศษในทางเลิก ทางหยุด ทางห้าม คุณวิเศษนานัปการ สุดแต่จะอธิษฐานจิตลักษณะเหรียญเป็นรูปวงรี ข้างขยัก ขนาด 2 X 3.7 c.m.

เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ ชั้นเอก อ.คล้อย ปี2537 วัดภูเขาทอง




เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ ชั้นเอก อ.คล้อย ปี2537 วัดภูเขาทอง ราคา600

เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ชั้นโท อ.คล้อย ปี2525 วัดภูเขาทอง




เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ชั้นโท อ.คล้อย ปี2525 วัดภูเขาทอง ราคา700

เหรียญ พระครูกาชาด วัดดอนศาลา 2523




เหรียญ พระครูกาชาด
วัดดอนศาลา 2523
พระครู กาชาด บุญทอง เขมทตฺโต ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ที่ได้รับการสืบทอดตำราสายเขาอ้อ จาก พระอาจารย์เอียด ท่านพิถีพิถันในการสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ตามตำราอย่างเคร่งครัด ดังนั้นของที่ท่านสร้างจึงมีประสบการณ์อย่างมากมาย
ประวัติของท่าน ชาติภูมิ
พระครูกาชาด มีนามเดิมว่า บุญทอง นามสกุล มีพลอย เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๖๓ ตรงกับวันจันทร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีวอก ณ บ้านดอนศาลา บ้านเลขที่ ๗ หมู่ที่ ๘ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โยมบิดาชื่อ นายพ้อย มารดาชื่อ นางเขียว มีอาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม ๓ คน คือ
๑ นายด้วง
๒ นางผึ้ง
๓ พระครูกาชาด (บุญทอง)
การศึกษา
เมื่อท่านมีอายุได้ ๓ เดือน บิดาก็ถึงแก่กรรม ท่านจึงอยู่ในความดูแลของมารดามาโดยตลอด พออายุได้ ๘ ปี จึงได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดดอนศาลา จนสำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗
ภายหลังที่จบการศึกษาแล้วท่านก็ช่วยทางบ้านประกอบอาช ีพทำนา จนกระทั่งอายุครบ ๒๐ ปี ท่านจึงได้เข้ารับการอุปสมบทที่วัดดอนศาลา เมื่อวันที่ ๑๑ ก.ค. ๒๔๘๓ โดยมีท่านพระครูสิทธยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์
ในปี ๒๔๘๗ พระอาจารย์เอียด ก็ทำพิธีส่งมอบคัมภีร์วิชาการต่างๆของสายเขาอ้อ หรือพิธีมอบภาระการสืบสายวิชาจากสำนักเขาอ้ออย่างเป็ นทางการที่วัดดอนศาลาให้แก่พระครูกาชาด โดยมีพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ ในเวลานั้นยังอยู่เพศคฤหัสถ์ร่วมเป็นสักขีพยานพร้อมกับคณะศิษย์เขาอ้ออีกหลายคนในพิธีด้วย
หลังจากพระอาจารย์เอียดมรณภาพลง พระครูกาชาด ก็รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนศาลาและเป็นผู้สืบทอ ดรักษาตำราเขาอ้อ
ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสวัดดอนศาลาอย่างดีเยี ่ยม ยังผลให้วัดดอนศาลามีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีกฏเกณฑ์ปฏิบัติต่างๆที่เคร่งครัด ตามพระวินัย ส่งผลให้วัดดอนศาลาเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากประชาชนโดยทั่วไป

เหรียญ อ.คล้อย วัดภูเขาทอง ปี 43




เหรียญ อ.คล้อย วัดภูเขาทอง ราคา700
พระครูพิพิธวรกิจ (คล้อย อโนโม) เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2472 ปัจจุบันอายุ 76 ปี เดิมชื่อ คล้อย ทองโอ่ บิดาชื่อ นายแสง ทองโอ่ มารดาชื่อ นางเอียด ทองโอ่ เกิดที่ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2491 ณ วัดดอนศาลา ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พระอุปัชฌาย์ คือ พระครูสิทธิยารัตน์ (พระอาจารย์เอียด) และ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อขึ้นปีขาล วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2493 ณ วัดควนปันตาราม ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยมีพระครูรัตนาภิรัตเป็นอุปัชฌาย์ พระมหาเจิม ฐิตเปโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูกาชาด วัดดอนศาลาเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และ ดำรงสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
จากประวัติท่านพระอาจารย์คล้อย อโนโม วัดภูเขาทอง จะเห็นได้ว่า ท่านพระครูสิทธิยาภิรัตน์ (เอียด) วัดดอนศาลา ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคแรกๆ ของสำนักเขาอ้อ เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ และ ท่านพระอาจารย์คล้อย อโนโม ยังเป็นหลานแท้ๆ ของท่านพระอาจารย์สิทธิยาภิรัตน์ (เอียด) ด้วย ปี พ.ศ.2483 ได้เกิดสงครามอินโดจีน ท่านอาจารย์เอียดได้จัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อแจกให้กับทหารหาญ การจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนั้น จัดได้ว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ และยิ่งใหญ่ที่สุด ทำพิธีกันที่วัดเขาอ้อ ในถ้ำฉัตทันต์บรรพต วัตถุมงคลที่สร้างมีเนื้อโลหะเรียกว่า "ปิดตามหายันต์" และอีกแบบเป็นเนื้อว่านเรียกว่า "ปิดตามหาว่าน"

อ.ทองเฒ่า ปี20 วัดเขาอ้อ




อ.ทองเฒ่า ปี20 วัดเขาอ้อ ราคา4000
ประวัติพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ
วัดเขาอ้อ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ยังมีการกล่าวถึงอยู่ในพงศาวดารพัทลุง ดังปรากฏในหนังสือ "พระสังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า) อาจารย์ผู้เฒ่าวัดเขาอ้อ" ซึ่งอาจารย์ชุม ไชยคีรี ศิษย์เอกทางไสยเวทคนหนึ่งของสำนักวัดเขาอ้อได้ค้นคว้าและเรียบเรียงขึ้นมา เป็นประวัติพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ มีความว่า

"เท่าที่ค้นพบจากพงศาวดาร และจากคำบันทึกของพระ เจ้าของตำรา พระอาจารย์ทุกองค์ในสำนักวัดเขาอ้อมีความรู้ความสามารถในทางไสยศาสตร์ให้แก่ทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นเจ้าเมือง และนักรบมาแต่ครั้งโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตลอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระอาจารย์ที่ปรากฏองค์ที่ 1 ชื่อ พระอาจารย์ทอง ในสมัยนั้นทางฟากตะวันตกของทะเลสาบตรงกับวัดพระเกิด ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน ปัจจุบันนี้

ครั้งนั้น ตามพงศาวดารเมืองพัทลุงกล่าวว่า ยังมีตายาย 2 คน ตาชื่อ สามโม ยายชื่อ ยายเพ็ชร์ ตายายมีบุตรหลานบุญธรรมอยู่ 2 คน ผู้ชายชื่อ กุมาร ผู้หญิงชื่อ เลือดขาว นางเลือดขาวกล่าวว่าเป็นอัจริยะมนุษย์ คือ เลือดในตัวนางมีสีขาว ผิวขาวผิดกับมนุษย์ธรรมดาสามัญ

ตาสามโมเป็นนายกองช้าง หน้าที่จับช้าง เลี้ยงช้างถวายพระยากรงทอง ปีละ 1 เชือก

เมื่อบุตรธิดาทั้งสองเจริญวัยพอสมควรแล้ว ตายายจึงนำไปฝากให้พระอาจารย์ทอง วัดเขาอ้อ สอนวิชาความรู้ให้ พบบันทึกในตำราว่าเริ่มนำตัวไปถวายพระอาจารย์ทองเมื่อวันพฤหัสบดี ปีกุน เดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 301 (พ.ศ.1482) จะศึกษาอยู่นานเท่าใดไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่าเป็นผู้มีความรู้ทางอยู่ยงคงกระพัน กำบังกายหายตัว และอื่นๆ เป็นอย่างดียิ่ง ต่อมาตายายให้บุตรบุญธรรมทั้งสองแต่งงานเป็นสามีภรรยากัน พระยากรงทองโปรดให้ไปเป็นเจ้าเมืองชื่อพระกุมารและนางเลือดขาว ตั้งเมืองอยู่ที่บางแก้วฝั่งทะเลสาบตะวันตก ชื่อเมืองตะลุง ได้สร้างวัดและเจดีย์วัดตะเขียน (วัดบางแก้ว ตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เดี๋ยวนี้)

การที่ให้ชื่อเมืองว่า เมืองตะลุง อาจจะเป็นเพราะว่าเดิมเป็นหลักล่ามช้าง ต่อมาจึงกลายเป็นเมืองพัทลุง พระกุมารและนางเลือดขาวเป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างวัดวาอาราม พระพุทธรูป พระเจดีย์ ในเขตเมืองพัทลุง เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองตรัง หลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดบางแก้ว วัดสทังใหญ่ เมื่อปีพ.ศ. 1493 สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดตรัง 1 วัด สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์ พอจะจับเค้ามูลได้ว่าวัดเขาอ้อมีมาก่อนเมืองพัทลุง เพราะกุมารมาศึกษาวิชาความรู้ก่อนเป็นเจ้าเมือง"

และยังมีตอนหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องถึงประวัติของหลวงพ่อทวด แห่งวัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี แต่ครั้งยังอยู่วัดพะโคะ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ว่า

"เมื่อจุลศักราช 991 (พ.ศ.2171) พระสามีรามวัดพะโคะ หรือที่เราทราบกันเดี๋ยวนี้ว่า หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ซึ่งประชาชนในสมัยนั้นยกย่องถวายนามว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ท่านได้ไปเรียนพระปริยัติธรรม ณ กรุงศรีอยุธยา เป็นผู้แตกฉานในอรรถธรรม ครั้งนั้นยังมีพราหมณ์เป็นนักปราชญ์มาจากประเทศสิงหล (ลังกา) มาตั้งปริศนาปัญหาธรรมที่แสนยาก พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโปรดให้พระสามีรามเถระแก้ปัญหาธรรมนั้นๆ จนชนะพราหมณ์ชาวสิงหล จึงพระราชทานยศเป็นพระราชมุนี

เมื่อกลับมาเมืองพัทลุงได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระรัตนมหาธาตุไว้บนเขาพะโคะ สูง 1 เส้น 5 วา มีระเบียงล้อมรอบพระเจดีย์

ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้นฉลองพระเจดีย์นั้น ท่านอาจารย์เฒ่า วัดเขาอ้อ พัทลุง องค์หนึ่งชื่อ สมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งคงจะเป็นชื่อที่ยกย่องเช่นเดียวกับสมเด็จเจ้าพะโคะ นำพุทธบริษัทไปในงานฉลองพระเจดีย์ทางเรือใบ แสดงอภินิหารวิ่งเรือใบเลยขึ้นไปถึงเขาพะโคะ ซึ่งไกลจากทะเลมาก ทำให้ประชาชนที่เห็นอภินิหารเคารพนับถือ และปัจจุบันสถานที่ตรงนั้นเรียกกันว่า "ที่จอดเรือท่านอาจารย์วัดเขาอ้อ"

ต่อมา ท่านสมเด็จเจ้าพะโคะ ให้คนกวนข้าวเหนียวด้วยน้ำตาลโตนด ภาษาภาคใต้เรียกว่า เหนียวกวน ทำเป็นก้อนยาวประมาณ 2 ศอก โตเท่าขา ให้พระนำไปถวายสมเด็จเจ้าจอมทอง วัดเขาอ้อ ครั้นถึงเวลาฉันท่านสมเด็จเจ้าจอมทองสั่งให้แบ่งถวายพระทุกองค์ ศิษย์วัดตลอดถึงพระก็ไม่มีใครที่จะแบ่งได้ เอามีดมาฟันเท่าใดก็ไม่เข้า ทราบถึงสมเด็จเจ้าจอมทอง ท่านสั่งให้เอามาแล้วท่านจึงเอามือลูบ แล้วส่งให้ศิษย์ตัดแบ่งถวายพระอย่างข้าวเหนียวธรรมดา

อยู่มาวันหนึ่ง สมเด็จเจ้าจอมทองให้พระนำแตงโมใบใหญ่ 2 ลูก ไปถวายสมเด็จเจ้าพะโคะ พอถึงเวลาฉันก็ไม่มีใครผ่าออก สมเด็จเจ้าพะโคะทราบเข้าก็หัวเราะชอบใจ พูดขึ้นว่า สหายเราคงแสดงฤทธิ์แก้มือเรา ท่านรับแตงโมแล้วผ่าด้วยมือของท่านเองออกเป็นชิ้นๆ ถวายพระ

การแสดงอภินิหารของพระอาจารย์ครั้งโบราณเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งมีมากอาจารย์ด้วยกัน ต่อจากนั้นพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุกๆ องค์ ได้แสดงฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ตลอดมา จึงเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทุกชั้น เจ้าเมืองพัทลุงทุกคนต้องไปเรียนวิชาความรู้ที่วัดเขาอ้อ

กล่าวสำหรับเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ เท่าที่สืบค้นพบจนถึงปัจจุบัน มี 11 รูป ด้วยกัน ดังนี้

1. พระอาจารย์ทอง

2. พระอาจารย์สมเด็จเจ้าจอมทอง

3. พระอาจารย์พรมทอง

4. พระอาจารย์ไชยทอง

5. พระอาจารย์ทองจันทร์

6. พระอาจารย์ทองในถ้ำ

7. พระอาจารย์ทองนอกถ้ำ

8. พระอาจารย์สมภารทอง

9. พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต

10. พระอาจารย์ปาล ปาลธฺมโม

11. พระครูอดุลธรรมกิตติ์ (กลั่น อคฺคธมฺโม)

พระอาจารย์วัดเขาอ้อนั้นล้วนต่างมีวิชาความรู้ความสามารถมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทั้งนี้เพราะต่างศึกษาวิชากันมาไม่ขาดระยะ ตำราและวิชาความรู้ที่เป็นหลัก คือ การศึกษาเวทมนตร์คาถาเป็นหลัก เรียนตั้งแต่ธาตุ 4 ธาตุ การตั้งธาตุ หนุนธาตุ แปลงธาตุ และตรวจธาตุ วิชาคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด สอนให้รู้กำเนิดที่มาของเลขยันต์อักขระต่างๆ

นอกเหนือจากการสอนวิชาความรู้ทางไสยเวทแล้ว ยังสอนวิชาความรู้เกี่ยวกับรักษาโรคด้วยสมุนไพร

มีเรื่องเล่าขานถึงปาฏิหาริย์ความศักดิ์สิทธิ์ในวิชาของอดีตเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อมากมาย อย่างอดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อ สมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งนับว่ามีบุญญาวาสนาสูงส่งยิ่งนัก นอกจากจะมีสานุศิษย์มากมายแล้ว สัตว์ป่านานาชนิดยังเข้ามาพึ่งพาอาศัยอยู่ในวัดเป็นจำนวนมาก และไม่มีผู้ใดเข้ามาทำร้ายทำอันตรายต่อสัตว์เหล่านั้น ด้วยต่างทราบกันว่า ท่านให้การปกปักรักษาเหล่าสัตว์เหล่านั้น ที่สำคัญคนละแวกวัดเขาอ้อล้วนทราบดีว่าท่านมีวาจาศักดิ์สิทธิ์

ทว่าครั้งหนึ่งคนต่างถิ่นตามล่ากวางเผือกตัวหนึ่งของสมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งอาศัยอยู่ในวัดเขาอ้อ เป็นกวางที่เชื่องมาก โดยปกติแล้วกวางตัวนี้จะหายไปจากเขตวัดเพื่อหากินไกลๆ ครั้งละ 2-3 วัน แล้วจะกลับมาหมอบอยู่หน้ากุฏิท่าน ปฏิบัติอยู่เช่นนี้เป็นประจำ วันหนึ่งกวางเผือกตัวนี้ได้วิ่งเข้ามาหมอบอยู่หน้ากุฏิของท่านด้วยอาการแสดงความหวาดกลัวเหมือนหนีสัตว์ร้ายมา เผอิญสมเด็จเจ้าจอมทองนั่งอยู่หน้ากุฏิ และได้มองไปที่กวางด้วยอำนาจญาณสมาบัติอันสูงส่งของสมเด็จเจ้าจอมทอง จึงทราบได้ทันทีว่ากวางเผือกหนีอะไรมา ท่านจึงได้กล่าวกับพระภิกษุที่นั่งอยู่ในที่นั้นว่า "เจ้ากวางเผือกเกือบจะไปเป็นอาหารของเขาเสียแล้ว" ยังไม่ทันที่จะกล่าวสิ่งใดต่อพลันก็มีคนถือหอกวิ่งเข้ามาข้างหน้ากุฏิทำท่าง้างหอกในมือเตรียมจะทิ่มแทงกวางเผือกซึ่งหมอบอยู่ใกล้ๆ ท่าน สมเด็จเจ้าจอมทองจึงตวาดออกไปดังกังวานว่า "หยุดเดี๋ยวนี้เจ้ามนุษย์ไม่มีศีลมีธรรม จะฆ่าสัตว์แม้แต่ในเขตวัดไม่เว้น เคยเบียดเบียนแต่สัตว์ต่อนี้ไปสัตว์จะเบียดเบียนเจ้าบ้างล่ะ"

ชายผู้ถือหอกถึงกับหยุดชะงักนิ่ง และเมื่อสิ้นคำพูดของสมเด็จเจ้าจอมทอง ชายผู้นั้นก็ร้องลั่นสลัดหอกในมือทิ้ง แล้วร้องขึ้นมาว่า "งู งู ฉันกลัวแล้วงู" เพราะเห็นหอกที่ตัวเองถือเป็นงู จากนั้นจึงวิ่งหนีออกจากวัดไปพร้อมส่งเสียงร้องลั่นด้วยความกลัวงู แต่ไม่ว่าจะวิ่งไปทางไหนก็เห็นงูไล่ล่าเขาอยู่ตลอด ผู้ที่เล่าเรื่องนี้กล่าวว่า ชายผู้นี้ต้องวิ่งไปเรื่อยๆ หยุดนิ่งเมื่อใดจะเห็นงูไล่ล่าตัวเองอยู่ตลอด

ยังมีกาเผือกอีก 2 ตัว ที่อาศัยเกาะต้นไม้อยู่หน้ากุฏิสมเด็จเจ้าจอมทองเป็นประจำ อาศัยกินข้าวก้นบาตรที่ท่านโปรยให้ทุกวัน สมเด็จเจ้าจอมทองเคยเอ่ยถึงกาทั้ง 2 ตัวนี้ว่า "เป็นสัตว์ที่ประเสริฐไม่กินเนื้อสัตว์หรือสิ่งมีชีวิต" มีพระลูกวัดเคยโยนเศษเนื้อสัตว์จากอาหารที่ญาติโยมใส่บาตรให้กาทั้ง 2 แต่ก็หาได้กินไม่ กลับเลือกกินแต่เฉพาะเม็ดข้าวสุกเท่านั้น

อยู่มาวันหนึ่งกาเผือกทั้ง 2 บินลงมาเกาะใกล้ๆ กับที่สมเด็จเจ้าจอมทองนั่ง แล้วส่งเสียงร้องลั่นกุฏิอยู่เป็นเวลานาน สมเด็จเจ้าจอมทองก็นั่งนิ่งสงบฟังเสียงกาทั้ง 2 อย่างตั้งใจ ครู่หนึ่งจึงเอ่ยกับพระภิกษุลูกวัดที่อยู่บนกุฏิท่านว่า "กาเผือกเขามาร่ำลา ถึงเวลาที่เขาจะต้องบินกลับไปในป่าแล้ว จะไม่กลับมาอีก เจ้ากาตัวเมียจะไปวางไข่อีกไม่นานเขาคงจะต้องตาย คงไม่ได้มาเขาอ้ออีก เขาจะมาเขาอ้ออีกก็คงชาติต่อไป เขาจะต้องมาแน่"

ต่อเมื่อกาเผือกทั้ง 2 ได้รับศีลรับพรจากสมเด็จเจ้าจอมทองแล้ว ได้บินทักษิณารัตนะรอบกุฏิแล้วบินมุ่งเข้าป่าไป จากนั้นไม่มีใครพบเห็นกาเผือกทั้ง 2 อีกเลย

กล่าวสำหรับอดีตเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อที่พอสืบค้นประวัติได้บ้าง นับแต่สมัยพระครูสังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (ทองเฒ่า) แต่จะเป็นเจ้าอาวาสเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า "พ่อท่านเขาอ้อ"

เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังทางวิทยาคมไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ จนเป็นที่เคารพนับถือยำเกรงของคนทั่วไป

กล่าวว่าตรงศีรษะของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) มีเส้นผมสีขาวซึ่งไม่สามารถโกนหรือตัดขาดได้

น่าเสียดายว่าอัตโนประวัติของพระครูสังฆสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) สืบค้นได้จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังจะพอจดจำกันได้บ้างว่า พื้นเพของท่านเป็นชาวบ้านสำนักกอ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง บิดานั้นไม่ทราบชื่อ ส่วนมารดาชื่อ นางรอด ตัวของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) เป็นพี่คนโต และมีน้อง 2 คน เป็นชายและหญิง ครอบครัวมีอาชีพทำนา

ในการอุปสมบทจะเป็นเมื่อใด ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ ตลอดจนพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ หาทราบไม่ แต่มีเรื่องเล่ากันว่า ก่อนที่ท่านจะบวชได้ล้มป่วยมีอาการหนักมาก จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานบนบานศาลกล่าวว่า หากหายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วยจะบวชเป็นการถวายแก้บน หลังจากนั้นไม่นานอาการป่วยไข้ก็ทุเลาเบาบาง และหายไปในที่สุดอย่างน่าอัศจรรย์

ซึ่งต่อมาได้อุปสมบทตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้ และได้ศึกษาวิชากับพระอาจารย์เอียดเหาะได้ วัดดอนศาลา ซึ่งเป็นศิษย์สายสำนักวัดเขาอ้อ เป็นที่กล่าวขานถึงวิชาพุทธาคมของพระอาจารย์เอียดเหาะได้ว่า เหตุที่ท่านมีสมญานามเช่นนั้นสืบเนื่องมาจาก ทุกวันพระ 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ พระอาจารย์เอียดเหาะได้ จะเหาะไปบำเพ็ญภาวนาในถ้ำที่วัดเขาอ้อเป็นประจำ ชาวบ้านหลายคนได้พบเห็นเป็นประจักษ์ต่อสายตา จึงได้ขนานนามท่านว่า "พระอาจารย์เอียดเหาะได้"

กล่าวสำหรับพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) ได้ชื่อว่ามีตบะบารมีสูงส่งทีเดียว ถึงกับเคยตวาดคนทีเดียวจนเป็นบ้า และเป็นผู้ที่เข้มงวดกวดขันกับบรรดาลูกศิษย์เป็นอย่างยิ่ง หากพบเห็นว่าทำสิ่งใดไม่ถูกต้องก็จะตำหนิตักเตือน ทั้งนี้ก็ด้วยความปรารถนาดีที่อยากให้ศิษย์ของท่านได้ดีในวิชาความรู้

ในส่วนของมารดาของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) ในช่วงบั้นปลายของชีวิตได้บวชชีที่วัดเขาอ้อ โดยพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) ได้ปลูกกุฏิให้พำนักอยู่ใกล้ๆ กับกุฏิของท่าน เพื่อจะสะดวกในการปรนนิบัติตามหน้าที่ของบุตรผู้กตัญญูตราบจนสิ้นอายุขัย

สมณศักดิ์ที่ "พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต" เจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ ได้รับพระราชทานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้นยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย

พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) ได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2470 ขณะอายุได้ 78 ปี

สิ่งหนึ่งที่เหลือไว้สำหรับให้รำลึกถึง คือ วัตถุมงคลที่พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) ได้สร้างขึ้น นอกเหนือจากพิธีกรรมของสำนักวัดเขาอ้อ คือ พิธีอาบว่านแช่ยา พิธีหุงข้าวเหนียว พิธีป้อนน้ำมันงา ซึ่งในสมัยท่านเป็นพิธีกรรมที่เข้มขลังเป็นอย่างยิ่ง

วัตถุมงคลที่สร้างมีหลายชนิดทั้ง มีดหมอ ตะกรุด ผ้ายันต์ ลูกไม้มงคล และพระปิดตาพระอาจารย์ทองเฒ่า

พระปิดตาของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา ที่พบเห็นจะเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อตะกั่วผสมดีบุก

หากเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ วรรณะของเนื้อโลหะออกสีน้ำตาลไหม้เข้ม หากเป็นเนื้อตะกั่วผสมดีบุก จะปรากฏคราบสนิมสีแดงเรื่อๆ ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด

เหรียญ ร.5 หลังพระพุทธโสธร




เหรียญ ร.5 หลังพระพุทธโสธร ราคา1500

หลวงพ่อเอื้อมเนื้อชานยา มีทุกสี ดำ แดง ขาว




หลวงพ่อเอื้อมเนื้อชานยา
มีทุกสี ดำ แดง ขาว
ราคา องค์ละ 1500
พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน พระเกจิเอกด้านจตุคามฯ
พระเกจิอาจารย์ อายุเกิน100ปี นับวันจะเหลือน้อยลงทุกที ทางสายใต้ก็มีรูปนี้กำลังโด่งดังมาก ท่านมีนามคุ้นหูเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสมวัตถุมงคลสายใต้
"พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ" ปัจจุบันมักได้รับอาราธนานิมนต์ไปนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก และกดพิมพ์นำฤกษ์วัตถุมงคลยอดนิยม "จตุคามรามเทพ" อยู่บ่อยครั้ง แต่ส่วนใหญ่จะอยู่แถวภาคใต้ เพราะติดปัญหาเรื่องการเดินทาง

ความชราไม่เป็นปัญหากับหลวงพ่อเอื้อม วัดบางเนียนด้วยความเมตตาที่เปี่ยมล้น อยากให้คณะศรัทธามีวัตถุมงคลมากพุทธคุณไว้บูชา วัดใกล้หรือไกลหากจัดพิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษกวัตถุมงคลแล้วทำใบฎีกานิมนต์มา ท่านไม่เคยปฏิเสธ บางครั้งศิษย์ของท่านเองต้องขอร้อง เพราะเป็นห่วงเรื่องสุขภาพ

ประวัติพ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน
"1 ศตวรรษ 5 แผ่นดิน" พ่อท่านเอื้อม พระเกจิอาจารย์จอมขมังเวท ทองทั้งแท่ง เพชรแท้แห่งลุ่มน้ำปากพนัง เจ้าอาวาสวัดสุวรรณจัตตุพลปันนาราม (วัดบางเนียน)ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช
ถือกำเนิด ณ บ้านเลขที่ 68หมู่ที่12ต.การะเกด อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ปีระกา เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2449 นับถึงปัจจุบันสิริอายุ 101 ปี หลังจบการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนใกล้บ้านแล้ว ประกอบอาชีพทำนาช่วยเหลือครอบครัว

พ่อท่านเอื้อม อุปสมบทเมื่ออายุ 65 ปี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2514 เวลา 13.45 น. ณ พัทธสีมา วัดปากเชียร อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช โดยมีพระครูถาวรบุญรัต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมานิต มานิโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา "กตปุญโญ"

ตามประวัติพ่อท่านเอื้อม ก่อนอุปสมบทท่านเคยเป็นเสือเก่ามาก่อน และได้เคยปะทะกับท่านพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ต่างคนต่างมีวิชาสายสำนักเขาอ้อเหมือนกัน จนในที่สุดท่านทั้งสองคบหาเป็นสหายกัน

ต่อมาท่านพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้แนะนำให้ท่านไปบวชกับพ่อท่านคล้าย วัดจันดี

แต่พ่อท่านคล้ายท่านชราภาพมากแล้ว จึงแนะนำให้ไปบวชกับพระรูปอื่น ก่อนบวชท่านได้บอกว่าถ้าบวชกับพระรูปไหนจะไปสึกกับพระรูปนั้น ในที่สุดท่านก็ได้อุปสมบทกับพระครูถาวรบุญรัต ในเวลาต่อมาท่านพระครูถาวรบุญรัตได้มรณภาพลง พ่อท่านเอื้อมจึงลาสิกขาไม่ได้ตั้งแต่นั้นมาจวบจนปัจจุบัน

การศึกษาพุทธาคม หลังจากอุปสมบทแล้ว พ่อท่านเอื้อมอยู่จำพรรษาวัดปากเชียรศึกษาข้อวัตรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากนั้นได้จาริกธุดงค์ตามป่าเขา ขึ้นเหนือถึงประจวบคีรีขันธ์ ลงใต้สำนักอาจารย์เขาอ้อ ไปสุดชายแดนมาเลเซีย

ระหว่างธุดงค์ได้สร้างวัดตามสถานที่ต่างๆ รวมได้ 7 วัด ได้แก่ วัดท้ายทะเล อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช, วัดเนินธัมมัง อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช, วัดไสไท อ.เมือง จ.กระบี่, สำนักสงฆ์สะเดา อ.เมือง จ.ชุมพร, สำนักสงฆ์เขาวงแหวน อ.ห้วยยอด จ.ตรัง, สำนักสงฆ์ควรเขาดิน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี และวัดบางเนียน อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช กิตติคุณเป็นที่กล่าวขานเรื่องเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย

วัตถุมงคลเข้มพลังมากประสบการณ์ เช่น เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2533 อายุ 82 ปี ตะกรุดผ้ายันต์ พระผง รูปหล่อบูชา เป็นต้น
พ่อท่านเอื้อม ศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง ระหว่างธุดงค์ปักกลดตามป่า ถ้ำ และเดินข้ามภูเขาน้อยใหญ่รวม 69 ลูก การปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดของพ่อท่านเอื้อมจึงเชื่อกันว่าพ่อท่านได้ บรรลุธรรมขั้นสูง นอกจากศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดแล้ว พ่อท่านเอื้อมยังได้ศึกษาค้นคว้าทางไสยเวท และวิทยาคมทั้งศาสตร์อิสลาม พราหมณ์ ขอม และพุทธ มาตั้งแต่อายุ 16 ปีจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้พ่อท่านเอื้อมมีความรู้แตกฉาน ลึกซึ้งและแกร่งกล้าทางด้านไสยศาสตร์ เวทมนตร์ คาถา อาคม ในทุกด้าน

"หลวงพ่อเอื้อม วัดบางเนียน"ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์เพชรน้ำหนึ่งของภาคใต้ ที่มีตบะบารมีอันสูงยิ่ง วัตถุมงคลที่พ่อท่านเอื้อมอธิษฐานจิตหรือปลุกเสกจะมีอิทธิปาฏิหาริย์และ ประสบการณ์ทางด้านคงกระพัน แคล้วคลาด คุ้มครอง โชคลาภ และเมตตามหานิยม ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ที่นำไปบูชาจนนับครั้งไม่ถ้วน ศิษยานุศิษย์ ผู้ศรัทธาและบุคคลทั่วไปจึงเคารพนับถือศรัทธา แสวงหาวัตถุมงคลของพ่อท่านเอื้อมไว้บูชา และไปคารวะกราบไหว้พ่อท่านเอื้อมกันมากมายตลอดเวลา ปัจจุบัน "หลวงพ่อเอื้อม วัดบางเนียน" ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิเอกอุด้านจตุคามรามเทพรูปหนึ่ง

พระพุทธสิหิงบูรณะหลักเมือง 47



พระพุทธสิหิงบูรณะหลักเมือง 47
1ชุด ราคา2500
วัตถุมงคล รุ่น บูรณะหลักเมืองนครศรีฯ 2547 นับเป็นวัตถุมงคลสำคัญยิ่งรุ่นหนึ่งที่ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช มือปราบหนังเหนียวฆราวาสจอมขมังเวทย์วัย 108 ปี ได้ดำริให้จัดสร้างขึ้นโดยมีประสงค์เจตนาเพื่อร่วมสร้างสาธารณะกุศลต่างๆ ร่วมสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญวัดนาสน ซึ่งในอดีตเคยเป็นวัดร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเจตนาตรงกับทางเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ซึ่งมีโครงการที่จะ บูรณะศาลหลักเมือง ดังนั้นรายได้ส่วนหนึ่งจากผู้มีจิตศรัทธาจะได้นำไปสมทบทุนมอบเพื่อบูรณะศาล หลักเมือง ตามโครงการของทางเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ดังนั้น พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช จึงได้มอบหมายให้นายณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช ร่วมกับพ่อค้าประชาชนผู้มีจิตศรัทธาดำเนินการ เพื่อให้บรรลุกุศลเจตนาดังกล่าว
วัตถุมงคลรุ่น บูรณะหลักเมืองนครศรีฯ 2547 ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ทุกแบบทุกพิมพ์ล้วนแล้วแต่มีความสวยงามลึกซึ้งอัน เกิดจากฝีมือ การสร้างสรรค์อย่างประณีตพิธีพิถัน โดยคณะช่าง ผู้ชำนาญการซึ่งมีผลงานในระดับประเทศ
พิธีมหามงคล ครั้งที่ 1 ได้ประกอบพิธีบวงสรวงเททองตามแบบโบราณจารย์ ณ บริเวณหน้าวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2547 นับเป็นพิธีมหามงคลที่เพรียบพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางพุทธและพราหมณ์ ต่อหน้าเบื้องพระพักตร์ขององค์พระประธาน ในวิหารหลวง และรูปปั้นองค์ท้าวจตุคามองค์ท้าวรามเทพ ในวิหารพระทรงม้า
เวลา 06.19 น. ประกอบพิธีขอไฟพระฤกษ์จากองค์ท้าวจตุคาม-องค์ท้าวรามเทพ ในวิหารพระทรงม้าเมื่อนำมาประกอบพิธีบวงสรวงเททอง
เวลา 08.39 น. พราหมณ์ทำพิธีบวงสรวงอัญเชิญเทพยาดาอารักษ์ทั่วท้องจักรวาลและอัญเชิญองค์ ท้าวจตุคามองค์ท้าวรามเทพให้มาร่วมอำนวยอวยชัยแก่พิธีมหามงคลครั้งนี้
เวลา 09.19 น. พระสงฆ์ผู้ทรงคุณจำนวน 9 รูป สวดเจริญพระพุทธมนต์
เวลา 10.19 น. พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง 9 รูป ขึ้นธรรมมาสต์นั่งปรกประจำทิศประกอบด้วย พ่อท่านเนียม วันบางไทร, พ่อท่านวรรณ วัดเสาธงทอง, พระครูกาแก้ว วัดหน้าพระธาตุ, พระครูกาชาด วัดหน้าพระลาน, พ่อท่านสร วัดมะนาวหวาน, พ่อท่านชอบ วัดหน้าพระธาตุ, พ่อท่านชม วัดศาลาไพ, พ่อท่านเกษม วัดชะเมา และพ่อท่านหรั่ง สำนักสงฆ์ห้วยเตง
เวลา 10.49 น. มหาฤกษ์มงคล พระสงฆ์ผู้ทรงคุณ 9 รูป สวดพระชัยมงคลคาถา คณะพราหมณ์ลั่นฆ้องชัย เป่าสังฆ์ แกว่งบัณเฑาะ วงดุริยางค์จากโรงเรียนกัลยาณีฯ บรรเลงเพลงมหาฤกษ์มหาชัย คณะช่างประกอบพิธีเททอง โดยมีพ่อท่านเนียมวัดบางไทรเป็นองค์ประธาน
เวลา 11.29 น. พระเกจิอาจารย์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ โปรยข้าวตอกดอกไม้
พิธี มหามงคล ครั้งที่ 2 กำหนดพิธีบวงสรวงมหาพุทธาภิเษก ณ.วิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2547 โดยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในดินแดนแคว้นสุวรรณภูมิ มากมายนั่งปรกปลุกเสก
พิธีมหามงคล ครั้งที่ 3 ประกอบพิธีปลุกเสกประจุพุทธาคมกลางทะเลลึก อำเภอปากพนัง ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2547
พิธี มหามงคล ครั้งที่ 4 ประกอบพิธีปลุกเสกประจุพุทธาคม ณ.วิหารสูง สิริมงคลสมโภชใหญ่ในศาลหลักเมือง นครศรีธรรมราช ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2547

ชนวนมวลสาร เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าวัตถุมงคลที่ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช จัดสร้างจะต้องมีความเพรียบพร้อมสมบูรณ์ในด้าน ฤกษ์ผานาที ในด้านพิธีกรรม และในด้านชนวนมวลสาร ดั้งนั้นจึงกล่าวได้ว่าวัตถุมงคลรุ่น บูรณะหลักเมืองนครศรีฯ 2547 จึงมีชนวนมวลสาร ศักดิ์สิทธิ์ของ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ผสมผสานอยู่มากมาย เป็นชนวนมวลสารที่มีการปลุกเสกทับถมโดยตลอดจนมาถึงการสร้าง วัตถุมงคล รุ่นขุนพันธ์พุทธาคมเขาอ้อ และมงคลจักรวาลพุทธาคมเขาอ้อ ก็ได้ถูกนำมาผสมผสานไว้ในวัตถุมงคล รุ่นบูรณะหลักเมือง นครศรีฯ 2547 อย่างเต็มที่ทั้งโลหะชนวน และผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์

อ.ผู้เฒ่า วัดเขาอ้อ หลัง อ.เปรม วัดวิหารสูง เนื้ออัลปาก้า




อ.ผู้เฒ่า วัดเขาอ้อ หลัง อ.เปรม วัดวิหารสูง เนื้ออัลปาก้า ราคา4500

พระปิดตาหลวงพ่อทา เนื้อตะกั่ว วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม




พระปิดตาหลวงพ่อทา เนื้อตะกั่ว
วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม
ส่วนคติความเชื่อในการสร้างวัตถุมงคลนั้น "เนื้อเมฆพัด" เป็นโลหะที่ได้จากการเล่นแร่แปรธาตุ ตามตำราของไทยโบราณเชื่อว่า เป็นธาตุกายสิทธิ์ มีฤทธานุภาพในตัวเอง
เมฆพัดเป็นส่วนผสมของตะกั่ว และทองแดง มีกรรมวิธีการสร้างที่ซับซ้อน ในระหว่างหลอมต้องผสมตัวยาหลายชนิด มีกำมะถัน ปรอท และว่านยา ได้แก่ ไพลดำ ต้นหิงหาย ไม้โมกผา ขิงดำ กระชายดำ สบู่แดง สบู่เลือด เป็นต้น ซัดเข้าไปในเบ้าหลอม
พอสำเร็จจะได้โลหะสีดำ เป็นมันเงาเลื่อมพราย แต่เปราะและแตกง่าย พระคณาจารย์แต่โบราณนิยมหลอมเมฆพัดมาทำเป็นพระเครื่อง



พระปิดตาเนื้อเมฆพัด มีการสร้างหลายวัดด้วยกันนั้น และมีการจัดเข้าเป็น ชุดเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อเมฆพัด เหมือนกัน ได้แก่ ๑.พระปิดตาหลวงปู่นาค โชติโก วัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม ๒.พระปิดตาหลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง จ.ราชบุรี ๓.พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน จ.ราชบุรี ๔.พระปิดตาหลวงปู่ทิม วัดบางปลา จ.นครปฐม และ ๕.พระปิดตาหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม

ในบรรดาพระปิดตาเนื้อเมฆพัดด้วยกันแล้ว แต่ไหนแต่ไรมาบรรดานักเลงพระเขายกให้ พระปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ เป็นสุดยอดอันดับหนึ่งของพระปิดตาเนื้อเมฆพัดด้วยกันทั้งหมด

สมัยก่อนพระปิดตาสำนักนี้มีชื่อเรียกติดปากกันว่า "พระปิดตาห้วยจระเข้" ถือว่าเป็นพระปิดตาที่มีประสบการณ์เยี่ยมยอดด้านคงกระพันกับมหาอุดเป็นที่ สุด ส่วนทางเมตตามหานิยมกับโชคลาภ ก็ไม่เบาเหมือนกัน



จะเห็นได้ว่า พระปิดตาเนื้อเมฆพัดที่วงการนิยมกันสูงๆ จะเป็นพระปิดตาที่มีแหล่งกำเนิดในเขต จ.นครปฐม และจังหวัดใกล้เคียง อีกทั้งพระเนื้อเมฆพัดพิมพ์อื่นๆ ก็มักจะมีการสร้างโดยสำนักต่างๆ ที่อยู่ในละแวกนี้ด้วย

หลวงปู่นาค สร้างพระปิดตามหาอุด เนื้อเมฆพัด เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๒ ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ และถือว่าเป็นพระปรมาจารย์เมืองนครปฐมในสมัยแรก เป็นต้นตำรับพระปิดตาเนื้อเมฆพัด

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ และ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังสนามจันทร์ จะต้องเสด็จมาทรงแวะนมัสการหลวงปู่นาคเป็นประจำ และหลวงปู่นาคได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระปิดตาแด่สองพระองค์ไว้ทรงบูชาคู่พระวรกายด้วย

นอกจากนี้ หลวงปู่นาคยังเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการสร้างเนื้อ เมฆพัดมาก การผสมเนื้อแร่ต่างๆ การปั้นพิมพ์ และการเทหล่อองค์พระ ท่านทำด้วยตัวท่านเอง

องค์พระที่ท่านหล่อออกมาสวยงาม ไม่มีรอยตะเข็บ ไม่เป็นฟองอากาศ เนื้อพระเป็นสีดำอมเขียว สีดำเงาคล้ายปีกแมลงทับ สวยงามพิสดาร เนื้อพระผิวตึง สมบูรณ์แบบด้านรูปทรง
ว่ากันว่า หลวงปู่นาค กับ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว มีความสนิทสนมกันมาก เป็นสหธรรมิกรุ่นน้อง และมีการแลกเปลี่ยนวิชาซึ่งกันและกันด้วย โดยหลวงปู่บุญขอเรียนวิชาการสร้างเนื้อเมฆพัดไปจากหลวงปู่นาค ส่วนหลวงปู่นาคได้ขอเรียนวิชาอื่นๆ จากหลวงปู่บุญ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน

เอกลักษณ์ของพระปิดตาห้วยจระเข้ นอกจากจะดูพิมพ์เป็นหลักแล้ว พระปิดตาห้วยจระเข้จะต้องมีการลง เหล็กจาร ทุกองค์ด้วย

ในการลงเหล็กจารนั้น มีเรื่องเล่ากันว่า หลวงปู่นาคท่านนำเอาพระปิดตาที่สร้างเสร็จแล้วไปลงเหล็กจาร ที่ท่าน้ำข้างๆ วัด โดยท่านจะดำลงไปจารอักขระใต้น้ำ เมื่อจารเสร็จแล้วจะปล่อยให้พระปิดตาลอยขึ้นมาเหนือน้ำเอง โดยมีลูกศิษย์ที่อยู่บนฝั่งคอยเก็บ
ถ้าพระปิดตาองค์ไหนลงจารแล้วไม่ลอยน้ำขึ้นมา แสดงว่าพระปิดตาองค์นั้นไม่มีพลังพุทธคุณ อันอาจจะเกิดอักขระวิบัติ จากการจารอักขระก็ได้

จากพิธีกรรมการสร้างอันเข้มขลังนี้เอง จึงทำให้พระปิดตาวัดห้วยจระเข้เป็นจักรพรรดิของพระปิดตาเนื้อเมฆพัดทั้งปวง

ชาติภูมิของหลวงปู่นาคนั้น ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๘ (ร.ศ.๓๕) ตรงกับปีกุน จ.ศ.๑๑๗๗ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ พัทธสีมาวัดพระปฐมเจดีย์ ตรงกับ พ.ศ.๒๓๗๙ พระอุปัชฌาจารย์ไม่ปรากฏนาม ทราบแต่พระกรรมวาจาจารย์ คือ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระปฐมเจติยานุรักษ์ (หลวงปู่กล่ำ) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ได้รับฉายา "โชติโก"
หลวงปู่นาคได้เป็นผู้สร้างวัดห้วยจระเข้ร่วมกับประชาชน ปกครองวัดมานาน ๑๑ ปี ถึงกาลละสังขารเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ ด้วยโรคชรา รวมอายุได้ ๙๕ ปี ๗๔ พรรษา
ก่อนที่หลวงปู่นาคจะมรณภาพ ท่านได้ถ่ายทอดวิชาการสร้างพระปิดตาให้ หลวงปู่ศุข ลูกศิษย์ ซึ่งต่อมาหลวงปู่ศุขได้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ต่อจากหลวงปู่นาค หลวงปู่ศุขนับเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้โด่งดังอีกท่านหนึ่งในยุคต่อมา

พ่อท่านคล้าย วัดธาตุน้อย




พ่อท่านคล้าย วัดธาตุน้อย ราคา500
ประวัติพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน , ประวัติพ่อท่านคล้าย วัดพระธาตุน้อย
พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน วัดพระธาตุน้อย พระครูพิศิษฐ์อรรถการ หรือ ที่รู้จักกันทั่วไปว่า "พ่อท่านคล้าย" ประวัติ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ เทวดาเมืองคอน
พระครูพิศิษฐ์อรรถการ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์" นามตามสมณศักดิ์ท่านคือ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ่อท่านคล้าย นามเดิมว่า "คล้าย สีนิล" เกิดตรงกับ วันที่27ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95 ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางเพ็งเป็นภรรยานายซ้าย เพ็ชรฤทธิ์ ไม่มีบุตรสืบสกุลแต่มีบุตรบุญธรรมหนึ่งคน ชื่อนายครื้น เพ็ชรฤทธิ์

พ่อท่านคล้าย มีลักษณะนิสัย เป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละไม จึงเป็นที่รักของบิดามารดา ครูอาจารย์และญาติมิตรเป็นอันมาก

เมื่ออายุ ๑๕ ปี พ่อท่านคล้าย ประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ่อท่านคล้ายได้ใช้มีดตัดปลายเท้าออกด้วยตัวเอง และใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ
ขาของพ่อท่านคล้ายนั้นเสียข้างหนึ่ง คือ ขาด้านซ้ายขาดตั้งแต่ตาตุ่มลงไป (เสียตั้งแต่สมัยเด็กๆ โดนต้นไม้ทับที่บ้านญาติของท่านที่ จ.กระบี่ ขาเป็นหนองเลยต้องตัดทิ้ง โดยท่านใช้มีดปาดตาลตัดเอง) ท่านเลยต้องใส่กระบอกไม้ไผ่แทน

พ่อท่านคล้าย ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2438 (อายุ 19 ปี) บรรพชาที่วัดจันดี ต.หลักช้าง บรรพชาโดยอาจารย์ พระอธิการจันเจ้าอาวาสวัดจันดี (ทุ่งปอน) และพ่อท่านสามารถท่อง พระปาฏิโมกข์จนได้แม่นยำ

เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุทกุกเขปสีมา หรือศาลาน้ำ ได้รับฉายาว่า จนฺทสุวณฺโณ โดยมีพระครูกราย คงคสุวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี
การศึกษาเบื้องต้น พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เริ่มศึกษาเบื้องต้นที่บ้าน โดยบิดาเป็นผู้สอน เรียนวิชาคำนวณ และวิชาอักษรโบราณ จนสามารถอ่านออกเขียนชำนาญ ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม ต่อมาศึกษาต่อในสำนักนายขำ ที่วัดทุ่งปอน บ้านโคกทือ จนจบหลักสูตร ต่อมาได้ไปฝึกหัดเล่นหนังตะลุงกับนายทองสาก ประกอบกับพ่อท่านคล้ายมีหน้าตาดี น้ำเสียงไพเราะ จึงมีคนติดใจการเล่นหนังตะลุงของท่านมาก

ต่อมาปี พ.ศ.2441 พ่อท่านคล้าย ได้เข้าศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เรียนมูลกัจจายนะ ในสำนักพระครูกาแก้ว (ศรี) ณ วัดหน้าพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จบหลักสูตรมูล พอแปลบาลีได้ ศึกษาอยู่เป็นเวลา 2 พรรษา

ปี พ.ศ.2443 ต่อมาได้ศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฎฐานที่สำนักวัดสามพัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์หนูเจ้าอาวาสเป็นผู้สอน

ปี พ.ศ.2445 พ่อท่านคล้าย ได้กลับมาอยู่จำพรรษาวัดหาดสูง ใกล้ตลาดทานพอ ในสำนักพระครูกราย ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพ่อท่าน เพื่อศึกษาวิปัสสนาและไสยศาสตร์ โดยเหตุที่พระครูกราย เป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาและทรงวิชาคุณทางไสยศาสตร์ในสมัยนั้น

ปี พ.ศ.2447 พ่อท่านคล้าย ได้ไปจำพรรษาที่วัดมะขามเฒ่า อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาเพื่อศึกษาภาลีและอภิธรรมเพิ่มเติม

ปีพ.ศ.2448 พ่อท่านกลับจากวัดมะขามเฒ่า มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งปอน (จันดี) ตลอดเวลาที่ท่านจำพรรษา ณ ที่ใดก็ตาม ท่านได้ศึกษาค้นคว้าภาษา บาลี วิชาโหราศาสตร์ และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ติดต่อกันมาโดยมิได้ประมาท ด้านการก่อสร้างก็ได้สร้างใว้ตามวัดต่างๆพอสมควร
พ่อท่านคล้าย เป็นเจ้าอาวาสวัดสวนขัน
ในปี พ.ศ.2448 พระปลัดคง เจ้าอาวาสวัดสวนขัน ลาสิกขาบท คณะอุบาสกอุบาสิกาของวัดสวนขัน ได้ร่วนกันเสนอไปยัง ท่านพระครูกรายเจ้าคณะแขวงฉวาง ขอแต่งตั้ง"พ่อท่านคล้าย"เป็นเจ้าอาวาส วัดสวนขันแทน ท่านพระครูกรายก็เสนอไปยังเจ้าคณะเมือง (ม่วง เปรียญ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณพระศิริธรรมมุนี เจ้าคณะเมือง ได้แต่งตั้งให้พ่อท่านคล้ายเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนขันแต่นั้นมา
ประวัติวัดสวนขัน
วัดสวนขันเป็นวัดราษฎร์ เดิมตั้งอยู่ที่ วัดราษฎร์บำรุง ปัจจุบันชาวบ้านเรียกวัดคุดด้วน เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งคลองคุดด้วน มีพระปลัดคงเป็นเจ้าอาวาส แต่ที่ตั้งเป็นที่ไม่เหมาะบางประการ เนื่องจากฤดูน้ำก็ถูกน้ำท่วมบ่อยๆและสถานที่คับแคบ จึงทำการย้ายวัดขึ้นไปทางเหนือของคลองคุดด้วน สร้างวัดขึ้นมาใหม่ใน ป่าไม้ขันอันเป็นที่สวนของอุบาสกผู้มีศรัทธาถวายให้วัด และพร้อมใจกันตั้งชื่อวัดว่า วัดสวนขัน
วัดสวนขันปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ตำบลสวนขัน กิ่งอำเภอช้างกลาง จ.นครศรีฯ พระปลัดคงได้เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก พระปลัดคงเป็นลูกศิษย์ของพระครูกราย ต่อมาลาสิกขาบทพระครูกรายเสนอพ่อท่านคล้ายให้เป็นพ่อท่านคล้าย ตลอดมาเป็นเวลา65ปี จนถึงวันมรณะภาพ
พ่อท่านเคยแต่งบทกลอนกำดัดสอนนาคใว้น่าฟังดังนี้

ศีลสิบโดยตั้ง รักษาโดยหวัง
องค์ศีลทั่วผอง สองร้อยยี่สิบเจ็ด
สิ้นเสร็จควรตรอง ศีลสิบหม่นหมองสองร้อยมรณา
สมณศักดิ์พ่อท่านคล้าย
ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูพิศิษฐ์อรรถการในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในนามสมณศักดิ์เดิม แต่ประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามชื่อเดิมว่า พ่อท่านคล้าย
ตำแหน่ง
- ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ จนมรณภาพ
- เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อย ใน พ.ศ.๒๕๐๐ เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ประชาชนได้ประชุมตกลงสร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว วัดนี้ก็เป็นที่ประดิษฐานสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว
งานด้านศาสนา
พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นผู้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก ผลงานสำคัญ ดังเช่น สร้างวัด พ่อท่านคล้ายเห็นความสำคัญของปูชนียสถาน จึงได้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ วัดมะปรางงาม ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๐ ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดิน และวัดที่สำคัญที่สุดคือวัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพ่อท่านคล้าย
พ่อท่านคล้าย สร้างวัดพระธาตุน้อยและเจดีย์

ปี พ.ศ.2505 นายกลับ งามพร้อม อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่9 ตำบลช้างกลาง อำเภอฉวาง ได้ยกที่ดินโคกไม้แดง มีเนื้อที่40ไร่ ถวายพ่อท่านโดยมอบให้เป็นที่ธรณีสงฆ์ที่ดินแปลงนี้อยู่ใกล้สถานีรถไฟคลองจันดี ประมาณ1กิโลเมตร พระครูพิศิษฐ์อรรถการได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นในที่ดินแปลงนี้ เริ่มก่อสร้างเมื่อ 14 มกราคม 2505 ตรงกับวันขึ้น 9ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่นายประคอง ช่วยเพ็ชร ถวายมาจากกว๊านพะเยา (ปัจจุบันเป็นจังหวัดพะเยา) โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุทั้งหมด ทุนรอนในการก่อสร้างได้มาจาก พ่อค้า คหบดี ข้าราชการ และประชาชน ฝ่ายสงฆ์มีพระใบฏีกาครื้น โสภโณ เจ้าอาวาสวัดจันดีในสมัยนั้น เป็นผู้อำนวยการสร้าง ฝ่ายฆราวาสมี พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ ราชเดช เป็นประธาน พระเจดีย์องค์นี้มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ27เมตร สูง 70เมตร การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ องค์พระเจดีย์ มองเห็นเด่นแต่ไกล ถ้านั่งรถไฟเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ก่อนขบวนรถจะถึงสถานีคลองจันดี จะมองเห็นพระเจดีย์อยู่ทางซ้ายมือ
พ่อท่านคล้ายได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลายองค์ ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ตำบลนาแว อำเภอฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้น บนภูเขาอำเภอนาสาร
งานด้านพัฒนาท้องถิ่น
พ่อท่านคล้าย จัดได้ว่าเป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ตลอดชีวิต ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ได้เดินทางไปพัฒนาในที่ต่าง ๆ มากมาย สร้างถนน สะพานมากมาย ด้วยเมตตาบารมีและความเคารพศรัทธาของศิษย์และประชาชน ดังเช่น

สร้างถนนเข้าวัดจันดี

ถนนจากตำบลละอายไปพิปูน

ถนนจากวัดสวนขันไปยังสถานีรถไฟคลองจันดี

ถนนจากตำบลละอายไปนาแว

ถนนระหว่างหมู่บ้านในตำบลละอาย

สะพานข้ามคลองคุดด้วนเข้าวัดสวนขัน

สะพานข้ามแม่น้ำตาปีจากตลาดทานพอไปนาแว

สะพานข้ามคลองเสหลา หน้าวัดมะปรางงาม

สะพานข้ามคลองจันดี เป็นต้น
ด้านความมีเมตตาและวาจาสิทธิ์

ศิษย์ยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือ ศรัทธาพ่อท่านคล้ายได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น พ่อท่านคล้ายจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน "ขอให้เป็นสุข เป็นสุข" ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย

คนที่ไปนมัสการ"พ่อท่านคล้าย"หวังที่จะได้วัตถุมงคล บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพ่อท่านคล้ายก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่งชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นต้องหวงแหนอย่างที่สุด
พ่อท่านคล้าย มรณภาพ

พ่อท่านคล้ายหรือพระครูพิศิษฐ์อรรถการ เมื่อครั้นถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2513 ตรงกับแรม 9ค่ำ เดือน12 ปีจอ พ่อท่านจะต้องเดินทางไปจังหวัดสุรินทร์ เนื่องในงานพุทธาภิเษกที่คณะพุทธบริษัท จังหวัดนั้นนิมนต์ใว้ เวลา 16.00 น. ของวันเดินทาง คณะศิษย์เป็นว่าพ่อท่านอาพาธกระทันหัน จึงนิมนต์พ่อท่านขึ้นรถด่วนเข้ากรุงเทพ ถึงวันรุ่งขึ้นได้นำพ่อท่านเข้าโรงพยาบาลพระมงกุฎในวันนั้น แพทยืได้พยายามรักษาจนเต็มความสามารถ เป็นเวลา14วัน อาการมีแต่ทรงกับทรุด ครั้งถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2513 เวลา23.05 น. พ่อท่านคล้าย มรณะภาพด้วยอาการสงบ รวมอายุได้ ๙๖ ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ ๑๐๐ วัน จึงได้บรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ในวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน

พระประธานพร อ.นำ วัดดอนศาลา ปี10




พระประธานพร อ.นำ
ราคา 800
พระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา พัทลุง ยอดพระคณาจารย์ แห่งแดนใต้ ท่านเป็นศิษย์ในสายเขาอ้อ เป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพ่อทอง วัดเขาอ้อ และสืบทอดวิชาจากพระครูสิทธยาภิรัต วัดดอนศาลา วัตถุมงคลของท่านมีหลายชนิด ในยุคต้นๆ ประกอบด้วยพระพิมพ์ยอดขุนพล พระพิมพ์ปาฏิหาริย์ พระพิมพ์ยอดขุนศึก พระปิดตาเนื้อตะกั่วลงถม พระผงว่านพิมพ์กลีบบัวพิมพ์ประทานพร ตะกรุด และลูกประคำ ฯลฯ แต่ที่รู้จักกันแพร่หลายได้แก่ รูปเหมือนขนาดบูชาหน้าตัก 5 นิ้ว รูปหล่อลอยองค์รุ่นแรก พระกริ่ง ทักษิณชินวโร และเหรียญรุ่นแรก ซึ่งล้วนแต่สร้างปีพุทธศักราช 2519 ก่อนท่านมรณภาพเพียงไม่กี่วัน สำหรับเหรียญ ภปร. แจกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน

ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2431 ณ บ้านดอนนูด ตำบลปันเขต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เดิมชื่อ นำ เป็นบุตรของนายเกลี้ยง (พระอาจารย์เกลี้ยง วัดดอนศาลา) และนางเอียด แก้วจันทร์ อุปสมบทเมื่ออายุ 20 ปี ณ วัดดอนศาลา มีพระครูอินทรโมฬี วัดปรางหมู่นอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูดิษฐ์ เป็นพระกรรม วาจาจารย์ อยู่ศึกษาวิชาทางธรรมและเวทมนตร์ ฝึกฝนวิปัสสนากับพระครูสิทธยาภิรัตในระหว่างอุปสมบทได้ 6 พรรษา ก็ลาสิกขาบทออกมาเป็นฆราวาส บำเพ็ญตนรักษาศีลอยู่มิขาด ใช้วิชาเวทมนตร์คาถา ยารักษาโรค ช่วยเหลือชาวบ้านเสมอมา ขณะเป็นฆราวาสก็มีลูกศิษย์มาศึกษาเวทมนตร์ด้วยมากมาย อาทิ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช พล.ต.ท.ประชา บูรณธนิต เป็นต้น

อ.ทองเฒ่า เนื้อหว่าน วัดเขาอ้อ




อ.ทองเฒ่า เนื้อหว่าน
ราคา 2500
ประวัติพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ
วัดเขาอ้อ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ยังมีการกล่าวถึงอยู่ในพงศาวดารพัทลุง ดังปรากฏในหนังสือ "พระสังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า) อาจารย์ผู้เฒ่าวัดเขาอ้อ" ซึ่งอาจารย์ชุม ไชยคีรี ศิษย์เอกทางไสยเวทคนหนึ่งของสำนักวัดเขาอ้อได้ค้นคว้าและเรียบเรียงขึ้นมา เป็นประวัติพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ มีความว่า

"เท่าที่ค้นพบจากพงศาวดาร และจากคำบันทึกของพระ เจ้าของตำรา พระอาจารย์ทุกองค์ในสำนักวัดเขาอ้อมีความรู้ความสามารถในทางไสยศาสตร์ให้แก่ทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นเจ้าเมือง และนักรบมาแต่ครั้งโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตลอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระอาจารย์ที่ปรากฏองค์ที่ 1 ชื่อ พระอาจารย์ทอง ในสมัยนั้นทางฟากตะวันตกของทะเลสาบตรงกับวัดพระเกิด ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน ปัจจุบันนี้

ครั้งนั้น ตามพงศาวดารเมืองพัทลุงกล่าวว่า ยังมีตายาย 2 คน ตาชื่อ สามโม ยายชื่อ ยายเพ็ชร์ ตายายมีบุตรหลานบุญธรรมอยู่ 2 คน ผู้ชายชื่อ กุมาร ผู้หญิงชื่อ เลือดขาว นางเลือดขาวกล่าวว่าเป็นอัจริยะมนุษย์ คือ เลือดในตัวนางมีสีขาว ผิวขาวผิดกับมนุษย์ธรรมดาสามัญ

ตาสามโมเป็นนายกองช้าง หน้าที่จับช้าง เลี้ยงช้างถวายพระยากรงทอง ปีละ 1 เชือก

เมื่อบุตรธิดาทั้งสองเจริญวัยพอสมควรแล้ว ตายายจึงนำไปฝากให้พระอาจารย์ทอง วัดเขาอ้อ สอนวิชาความรู้ให้ พบบันทึกในตำราว่าเริ่มนำตัวไปถวายพระอาจารย์ทองเมื่อวันพฤหัสบดี ปีกุน เดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 301 (พ.ศ.1482) จะศึกษาอยู่นานเท่าใดไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่าเป็นผู้มีความรู้ทางอยู่ยงคงกระพัน กำบังกายหายตัว และอื่นๆ เป็นอย่างดียิ่ง ต่อมาตายายให้บุตรบุญธรรมทั้งสองแต่งงานเป็นสามีภรรยากัน พระยากรงทองโปรดให้ไปเป็นเจ้าเมืองชื่อพระกุมารและนางเลือดขาว ตั้งเมืองอยู่ที่บางแก้วฝั่งทะเลสาบตะวันตก ชื่อเมืองตะลุง ได้สร้างวัดและเจดีย์วัดตะเขียน (วัดบางแก้ว ตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เดี๋ยวนี้)

การที่ให้ชื่อเมืองว่า เมืองตะลุง อาจจะเป็นเพราะว่าเดิมเป็นหลักล่ามช้าง ต่อมาจึงกลายเป็นเมืองพัทลุง พระกุมารและนางเลือดขาวเป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างวัดวาอาราม พระพุทธรูป พระเจดีย์ ในเขตเมืองพัทลุง เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองตรัง หลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดบางแก้ว วัดสทังใหญ่ เมื่อปีพ.ศ. 1493 สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดตรัง 1 วัด สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์ พอจะจับเค้ามูลได้ว่าวัดเขาอ้อมีมาก่อนเมืองพัทลุง เพราะกุมารมาศึกษาวิชาความรู้ก่อนเป็นเจ้าเมือง"

และยังมีตอนหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องถึงประวัติของหลวงพ่อทวด แห่งวัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี แต่ครั้งยังอยู่วัดพะโคะ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ว่า

"เมื่อจุลศักราช 991 (พ.ศ.2171) พระสามีรามวัดพะโคะ หรือที่เราทราบกันเดี๋ยวนี้ว่า หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ซึ่งประชาชนในสมัยนั้นยกย่องถวายนามว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ท่านได้ไปเรียนพระปริยัติธรรม ณ กรุงศรีอยุธยา เป็นผู้แตกฉานในอรรถธรรม ครั้งนั้นยังมีพราหมณ์เป็นนักปราชญ์มาจากประเทศสิงหล (ลังกา) มาตั้งปริศนาปัญหาธรรมที่แสนยาก พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโปรดให้พระสามีรามเถระแก้ปัญหาธรรมนั้นๆ จนชนะพราหมณ์ชาวสิงหล จึงพระราชทานยศเป็นพระราชมุนี

เมื่อกลับมาเมืองพัทลุงได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระรัตนมหาธาตุไว้บนเขาพะโคะ สูง 1 เส้น 5 วา มีระเบียงล้อมรอบพระเจดีย์

ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้นฉลองพระเจดีย์นั้น ท่านอาจารย์เฒ่า วัดเขาอ้อ พัทลุง องค์หนึ่งชื่อ สมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งคงจะเป็นชื่อที่ยกย่องเช่นเดียวกับสมเด็จเจ้าพะโคะ นำพุทธบริษัทไปในงานฉลองพระเจดีย์ทางเรือใบ แสดงอภินิหารวิ่งเรือใบเลยขึ้นไปถึงเขาพะโคะ ซึ่งไกลจากทะเลมาก ทำให้ประชาชนที่เห็นอภินิหารเคารพนับถือ และปัจจุบันสถานที่ตรงนั้นเรียกกันว่า "ที่จอดเรือท่านอาจารย์วัดเขาอ้อ"

ต่อมา ท่านสมเด็จเจ้าพะโคะ ให้คนกวนข้าวเหนียวด้วยน้ำตาลโตนด ภาษาภาคใต้เรียกว่า เหนียวกวน ทำเป็นก้อนยาวประมาณ 2 ศอก โตเท่าขา ให้พระนำไปถวายสมเด็จเจ้าจอมทอง วัดเขาอ้อ ครั้นถึงเวลาฉันท่านสมเด็จเจ้าจอมทองสั่งให้แบ่งถวายพระทุกองค์ ศิษย์วัดตลอดถึงพระก็ไม่มีใครที่จะแบ่งได้ เอามีดมาฟันเท่าใดก็ไม่เข้า ทราบถึงสมเด็จเจ้าจอมทอง ท่านสั่งให้เอามาแล้วท่านจึงเอามือลูบ แล้วส่งให้ศิษย์ตัดแบ่งถวายพระอย่างข้าวเหนียวธรรมดา

อยู่มาวันหนึ่ง สมเด็จเจ้าจอมทองให้พระนำแตงโมใบใหญ่ 2 ลูก ไปถวายสมเด็จเจ้าพะโคะ พอถึงเวลาฉันก็ไม่มีใครผ่าออก สมเด็จเจ้าพะโคะทราบเข้าก็หัวเราะชอบใจ พูดขึ้นว่า สหายเราคงแสดงฤทธิ์แก้มือเรา ท่านรับแตงโมแล้วผ่าด้วยมือของท่านเองออกเป็นชิ้นๆ ถวายพระ

การแสดงอภินิหารของพระอาจารย์ครั้งโบราณเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งมีมากอาจารย์ด้วยกัน ต่อจากนั้นพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุกๆ องค์ ได้แสดงฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ตลอดมา จึงเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทุกชั้น เจ้าเมืองพัทลุงทุกคนต้องไปเรียนวิชาความรู้ที่วัดเขาอ้อ

กล่าวสำหรับเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ เท่าที่สืบค้นพบจนถึงปัจจุบัน มี 11 รูป ด้วยกัน ดังนี้

1. พระอาจารย์ทอง

2. พระอาจารย์สมเด็จเจ้าจอมทอง

3. พระอาจารย์พรมทอง

4. พระอาจารย์ไชยทอง

5. พระอาจารย์ทองจันทร์

6. พระอาจารย์ทองในถ้ำ

7. พระอาจารย์ทองนอกถ้ำ

8. พระอาจารย์สมภารทอง

9. พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต

10. พระอาจารย์ปาล ปาลธฺมโม

11. พระครูอดุลธรรมกิตติ์ (กลั่น อคฺคธมฺโม)

พระอาจารย์วัดเขาอ้อนั้นล้วนต่างมีวิชาความรู้ความสามารถมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทั้งนี้เพราะต่างศึกษาวิชากันมาไม่ขาดระยะ ตำราและวิชาความรู้ที่เป็นหลัก คือ การศึกษาเวทมนตร์คาถาเป็นหลัก เรียนตั้งแต่ธาตุ 4 ธาตุ การตั้งธาตุ หนุนธาตุ แปลงธาตุ และตรวจธาตุ วิชาคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด สอนให้รู้กำเนิดที่มาของเลขยันต์อักขระต่างๆ

นอกเหนือจากการสอนวิชาความรู้ทางไสยเวทแล้ว ยังสอนวิชาความรู้เกี่ยวกับรักษาโรคด้วยสมุนไพร

มีเรื่องเล่าขานถึงปาฏิหาริย์ความศักดิ์สิทธิ์ในวิชาของอดีตเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อมากมาย อย่างอดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อ สมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งนับว่ามีบุญญาวาสนาสูงส่งยิ่งนัก นอกจากจะมีสานุศิษย์มากมายแล้ว สัตว์ป่านานาชนิดยังเข้ามาพึ่งพาอาศัยอยู่ในวัดเป็นจำนวนมาก และไม่มีผู้ใดเข้ามาทำร้ายทำอันตรายต่อสัตว์เหล่านั้น ด้วยต่างทราบกันว่า ท่านให้การปกปักรักษาเหล่าสัตว์เหล่านั้น ที่สำคัญคนละแวกวัดเขาอ้อล้วนทราบดีว่าท่านมีวาจาศักดิ์สิทธิ์

ทว่าครั้งหนึ่งคนต่างถิ่นตามล่ากวางเผือกตัวหนึ่งของสมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งอาศัยอยู่ในวัดเขาอ้อ เป็นกวางที่เชื่องมาก โดยปกติแล้วกวางตัวนี้จะหายไปจากเขตวัดเพื่อหากินไกลๆ ครั้งละ 2-3 วัน แล้วจะกลับมาหมอบอยู่หน้ากุฏิท่าน ปฏิบัติอยู่เช่นนี้เป็นประจำ วันหนึ่งกวางเผือกตัวนี้ได้วิ่งเข้ามาหมอบอยู่หน้ากุฏิของท่านด้วยอาการแสดงความหวาดกลัวเหมือนหนีสัตว์ร้ายมา เผอิญสมเด็จเจ้าจอมทองนั่งอยู่หน้ากุฏิ และได้มองไปที่กวางด้วยอำนาจญาณสมาบัติอันสูงส่งของสมเด็จเจ้าจอมทอง จึงทราบได้ทันทีว่ากวางเผือกหนีอะไรมา ท่านจึงได้กล่าวกับพระภิกษุที่นั่งอยู่ในที่นั้นว่า "เจ้ากวางเผือกเกือบจะไปเป็นอาหารของเขาเสียแล้ว" ยังไม่ทันที่จะกล่าวสิ่งใดต่อพลันก็มีคนถือหอกวิ่งเข้ามาข้างหน้ากุฏิทำท่าง้างหอกในมือเตรียมจะทิ่มแทงกวางเผือกซึ่งหมอบอยู่ใกล้ๆ ท่าน สมเด็จเจ้าจอมทองจึงตวาดออกไปดังกังวานว่า "หยุดเดี๋ยวนี้เจ้ามนุษย์ไม่มีศีลมีธรรม จะฆ่าสัตว์แม้แต่ในเขตวัดไม่เว้น เคยเบียดเบียนแต่สัตว์ต่อนี้ไปสัตว์จะเบียดเบียนเจ้าบ้างล่ะ"

ชายผู้ถือหอกถึงกับหยุดชะงักนิ่ง และเมื่อสิ้นคำพูดของสมเด็จเจ้าจอมทอง ชายผู้นั้นก็ร้องลั่นสลัดหอกในมือทิ้ง แล้วร้องขึ้นมาว่า "งู งู ฉันกลัวแล้วงู" เพราะเห็นหอกที่ตัวเองถือเป็นงู จากนั้นจึงวิ่งหนีออกจากวัดไปพร้อมส่งเสียงร้องลั่นด้วยความกลัวงู แต่ไม่ว่าจะวิ่งไปทางไหนก็เห็นงูไล่ล่าเขาอยู่ตลอด ผู้ที่เล่าเรื่องนี้กล่าวว่า ชายผู้นี้ต้องวิ่งไปเรื่อยๆ หยุดนิ่งเมื่อใดจะเห็นงูไล่ล่าตัวเองอยู่ตลอด

ยังมีกาเผือกอีก 2 ตัว ที่อาศัยเกาะต้นไม้อยู่หน้ากุฏิสมเด็จเจ้าจอมทองเป็นประจำ อาศัยกินข้าวก้นบาตรที่ท่านโปรยให้ทุกวัน สมเด็จเจ้าจอมทองเคยเอ่ยถึงกาทั้ง 2 ตัวนี้ว่า "เป็นสัตว์ที่ประเสริฐไม่กินเนื้อสัตว์หรือสิ่งมีชีวิต" มีพระลูกวัดเคยโยนเศษเนื้อสัตว์จากอาหารที่ญาติโยมใส่บาตรให้กาทั้ง 2 แต่ก็หาได้กินไม่ กลับเลือกกินแต่เฉพาะเม็ดข้าวสุกเท่านั้น

อยู่มาวันหนึ่งกาเผือกทั้ง 2 บินลงมาเกาะใกล้ๆ กับที่สมเด็จเจ้าจอมทองนั่ง แล้วส่งเสียงร้องลั่นกุฏิอยู่เป็นเวลานาน สมเด็จเจ้าจอมทองก็นั่งนิ่งสงบฟังเสียงกาทั้ง 2 อย่างตั้งใจ ครู่หนึ่งจึงเอ่ยกับพระภิกษุลูกวัดที่อยู่บนกุฏิท่านว่า "กาเผือกเขามาร่ำลา ถึงเวลาที่เขาจะต้องบินกลับไปในป่าแล้ว จะไม่กลับมาอีก เจ้ากาตัวเมียจะไปวางไข่อีกไม่นานเขาคงจะต้องตาย คงไม่ได้มาเขาอ้ออีก เขาจะมาเขาอ้ออีกก็คงชาติต่อไป เขาจะต้องมาแน่"

ต่อเมื่อกาเผือกทั้ง 2 ได้รับศีลรับพรจากสมเด็จเจ้าจอมทองแล้ว ได้บินทักษิณารัตนะรอบกุฏิแล้วบินมุ่งเข้าป่าไป จากนั้นไม่มีใครพบเห็นกาเผือกทั้ง 2 อีกเลย

กล่าวสำหรับอดีตเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อที่พอสืบค้นประวัติได้บ้าง นับแต่สมัยพระครูสังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (ทองเฒ่า) แต่จะเป็นเจ้าอาวาสเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า "พ่อท่านเขาอ้อ"

เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังทางวิทยาคมไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ จนเป็นที่เคารพนับถือยำเกรงของคนทั่วไป

กล่าวว่าตรงศีรษะของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) มีเส้นผมสีขาวซึ่งไม่สามารถโกนหรือตัดขาดได้

น่าเสียดายว่าอัตโนประวัติของพระครูสังฆสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) สืบค้นได้จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังจะพอจดจำกันได้บ้างว่า พื้นเพของท่านเป็นชาวบ้านสำนักกอ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง บิดานั้นไม่ทราบชื่อ ส่วนมารดาชื่อ นางรอด ตัวของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) เป็นพี่คนโต และมีน้อง 2 คน เป็นชายและหญิง ครอบครัวมีอาชีพทำนา

ในการอุปสมบทจะเป็นเมื่อใด ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ ตลอดจนพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ หาทราบไม่ แต่มีเรื่องเล่ากันว่า ก่อนที่ท่านจะบวชได้ล้มป่วยมีอาการหนักมาก จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานบนบานศาลกล่าวว่า หากหายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วยจะบวชเป็นการถวายแก้บน หลังจากนั้นไม่นานอาการป่วยไข้ก็ทุเลาเบาบาง และหายไปในที่สุดอย่างน่าอัศจรรย์

ซึ่งต่อมาได้อุปสมบทตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้ และได้ศึกษาวิชากับพระอาจารย์เอียดเหาะได้ วัดดอนศาลา ซึ่งเป็นศิษย์สายสำนักวัดเขาอ้อ เป็นที่กล่าวขานถึงวิชาพุทธาคมของพระอาจารย์เอียดเหาะได้ว่า เหตุที่ท่านมีสมญานามเช่นนั้นสืบเนื่องมาจาก ทุกวันพระ 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ พระอาจารย์เอียดเหาะได้ จะเหาะไปบำเพ็ญภาวนาในถ้ำที่วัดเขาอ้อเป็นประจำ ชาวบ้านหลายคนได้พบเห็นเป็นประจักษ์ต่อสายตา จึงได้ขนานนามท่านว่า "พระอาจารย์เอียดเหาะได้"

กล่าวสำหรับพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) ได้ชื่อว่ามีตบะบารมีสูงส่งทีเดียว ถึงกับเคยตวาดคนทีเดียวจนเป็นบ้า และเป็นผู้ที่เข้มงวดกวดขันกับบรรดาลูกศิษย์เป็นอย่างยิ่ง หากพบเห็นว่าทำสิ่งใดไม่ถูกต้องก็จะตำหนิตักเตือน ทั้งนี้ก็ด้วยความปรารถนาดีที่อยากให้ศิษย์ของท่านได้ดีในวิชาความรู้

ในส่วนของมารดาของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) ในช่วงบั้นปลายของชีวิตได้บวชชีที่วัดเขาอ้อ โดยพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) ได้ปลูกกุฏิให้พำนักอยู่ใกล้ๆ กับกุฏิของท่าน เพื่อจะสะดวกในการปรนนิบัติตามหน้าที่ของบุตรผู้กตัญญูตราบจนสิ้นอายุขัย

สมณศักดิ์ที่ "พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต" เจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ ได้รับพระราชทานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้นยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย

พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) ได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2470 ขณะอายุได้ 78 ปี

สิ่งหนึ่งที่เหลือไว้สำหรับให้รำลึกถึง คือ วัตถุมงคลที่พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) ได้สร้างขึ้น นอกเหนือจากพิธีกรรมของสำนักวัดเขาอ้อ คือ พิธีอาบว่านแช่ยา พิธีหุงข้าวเหนียว พิธีป้อนน้ำมันงา ซึ่งในสมัยท่านเป็นพิธีกรรมที่เข้มขลังเป็นอย่างยิ่ง

วัตถุมงคลที่สร้างมีหลายชนิดทั้ง มีดหมอ ตะกรุด ผ้ายันต์ ลูกไม้มงคล และพระปิดตาพระอาจารย์ทองเฒ่า

พระปิดตาของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา ที่พบเห็นจะเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อตะกั่วผสมดีบุก

หากเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ วรรณะของเนื้อโลหะออกสีน้ำตาลไหม้เข้ม หากเป็นเนื้อตะกั่วผสมดีบุก จะปรากฏคราบสนิมสีแดงเรื่อๆ ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด

ปิดตาสอดเขา อาจารย์แจ็ค จ.พัทลุง




ปิดตาสอดเขา อาจารย์แจ็ค จ.พัทลุง ราคา 3500

พระปิดตา อาจารย์ดิษฐ์ เนื้อทองประสมค์




พระปิดตา อาจารย์ดิษฐ์ เนื้อทองประสมค์ ราคา 3500