วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พระพุทธนิรโรคันตราย อาจารย์นำ ปี10





พระนิรโรคันตราย อาจารย์นำ ปี10
พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ชาวบ้านเรียกว่า “พระสี่มุมเมือง” เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงพระกรุณาพระ ราชทานให้ไว้ประจำภาคใต้ โดยมีพระราชโองการให้ประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดพัทลุง
การสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ(พระสี่มุมเมือง) มีประวัติกล่าวไว้ว่า เนื่องในสมัยที่พระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงสิริราชสมบัติมาได้ 15 ปี พ.ศ. 2468 เท่ากับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงมีพระราชดำริที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายรัชกาลที่ 2 และสมโภชสิริราชสมบัติของพระองค์ตามแบบสมเด็จพระบุรพกษัตราธิราช จึงทรงโปรอดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปสำริดกาไหล่ทองปางสมาธิจำนวน 16 องค์ และทรงถวายพระนามว่า “พระพุทธนิรโรคันตราย” โดยมีพระราชกำหนดไว้ว่า จะถวายไปยังพระอารามหลวงที่เป็นวัดมหานิกาย 15 องค์ อีกองค์หนึ่งนั้นไว้ในราชการ นอกจากนี้ยังได้ทรงโปรอดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อเชิงเทียนกาไหล่ทองขึ้นอีกส่วนหนึ่ง มีลักษณะคล้ายพระแสงศรกำลังราม ตรงกลางเป็นรูปวชิราวุธ มีที่ปักเทียน 39 ที่ และได้ทรงมีพระราชกำหนดไว้ว่า จะพระราชทานไปยังพระอารามหลวงที่สำคัญ ๆ เมื่อพระพุทธรูปและเชิงเทียนสำเร็จแล้ว แต่ยังมิทันถึงกำหนดที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นจะมีการพระราชทานพระพุทธนิรโรคันตรายไปยังพระอารามหลวงแห่งใด บ้างไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชัยสี่มุมเมือง” มีเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองเหลือง สร้างในปี พ.ศ. 2511
สร้างจำลองมาจาก : พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2509 กรมการรักษาดินแดนได้คำนึงถึงพระราชศรัทธาของพระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดรแห่งกิจการรักษาดินแดนไทย ในการสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายดังกล่าว จึงเห็นควรน้อมเกล้าฯด้วยความจงรักภักดีและอีกทั้งเป็นการดำเนินตามรอย ประเพณีแห่งอดีตสมเด็จพระบุรพกษัตริย์ของไทย ที่ได้สร้างพระพุทธปฏิมาไว้ 4 มุมเมือง เพื่อขอพุทธนุภาพแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดา ช่วยปกป้องคุ้มครอง และเพื่อเพิ่มเกณฑ์ชะตาของบ้านเมืองตลอดถึงพสกนิกรที่อยู่ใต้ร่มพระบารมีให้ มีความอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากโรคาพาธภัยพิบัตินานาประการ จึงดำริว่าควรจะได้มีการสร้าง “พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทัศ” ขึ้นในยุคปัจจุบันนี้บ้าง เพื่อนำไปประดิษฐานไว้ทั้ง 4 ทิศของประเทศไทยให้เป็นสิริมงคลแก่ปวงชนชาวไทยทั้งชาติ และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศแห่งพระบรมมหากษัตราธิราช พระองค์ปัจจุบัน จึงเห็นสมควรว่าการสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายนี้ จะต้องอยู่ในพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น สามัญชนหรือเหล่าคณะใดไม่อาจจะกระทำได้กรมการรักษาดินแดนจึงนำความกราบบังคม ทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงทราบแล้วได้ทรงพระบรมราชานุญาตให้กรมการรักษาดินแดนดำเนินการสร้าง พระพุทธนิรโรคันตรายขึ้นโดยทันที และมีพระบรมราโชบายจะให้นำไปประดิษฐานไว้ทั้ง 4 ทิศของประเทศไทย ได้แก่ ทิศเหนือประดิษฐานที่จังหวัดลำปาง ทิศใต้ประดิษฐานที่จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันออกประดิษฐานที่จังหวัดสระบุรี และทิศตะวันตกประดิษฐานที่จังหวัดราชบุรี
เมื่อกรมการรักษาดินแดนได้รับกระแสพระราชดำรัสเหนือเกล้าฯ เหนือกระหม่อมแล้วได้ประกอบพิธีการสร้างพระพุทธรูปสำคัญทั้ง 4 องค์ขึ้น ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 หรือที่เรียกว่า “วันเสาร์ห้า” ตรงกับวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเททองหล่อพระพุทธรูป ซึ่งสร้างด้วยโลหะผสม 3 ชนิด หรือไตรโลหะ ประกอบด้วยทองเหลือ 3 ส่วน ทองแดง 1 ส่วน ทองขาว 1 ส่วน รวมโลหะทั้งสิ้นประมาณ 400 กิโลกรัม ก่อนทำพิธีหล่อนั้นได้เปิดโอกาสให้บรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้นำแผ่นโลหะ ทองคำ นาก และเงิน หรือที่เรียกว่า “โลหะสามกษัตริย์” จารึกดวงชะตาของแต่ละคน แล้วนำเข้าพิธีปลุกเสกแผ่นโลหะถึง 3 ครั้ง ซึ่งพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเชื่อว่าได้มีส่วนสร้างพระพุทธานุสรณ์อย่างแท้จริง ทั้งเป็นการอุทิศชีวิตเพื่อได้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า เป็นการสร้างมหากุศลอันเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาด้วย หลังจากได้ดำเนินการหล่อพระพุทธรูปเสร็จแล้ว กรมการรักษาดินแดนได้จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษกอย่างถูกต้องตามพิธีการทางพุทธ ไสยศาสตร์
เกจิอาจารย์ที่นั่งปลุกเสกได้แก่
๑.พระอาจารย์นำ
๒.หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง
๓.หลวงพ่อ ปาล วัดเขาอ้อ
๔.หลวงพ่อเจ๊ก วัดเขาตะวันตก
๕.หลวงพ่อหมุน วัดเขาตะวันออก
๖.หลวงพ่อ เขียว วัดหรงบน
๗.หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง
๘.หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
๙.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน
และยังมีเกจินั่งสวดพระพุทธมนต์อีก ๙ รูป
๑.หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
๒.หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด
๓.หลวงพ่อจันทร์ วัดท่งเฟื้อ
๔.หลวงพ่อวัน วัดปากพยูน
๕.หลวงพ่อแก่น วัดทุ่งหล่อ
๖.หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
๗.หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน
๘.หลวงพ่อพุ่ม วัดน้ำผุดใต้
๙.หลวงพ่อช้วน วัดตันติยาภิรม"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น