วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พระปิดตาหลวงพ่อทา เนื้อตะกั่ว วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม




พระปิดตาหลวงพ่อทา เนื้อตะกั่ว
วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม
ส่วนคติความเชื่อในการสร้างวัตถุมงคลนั้น "เนื้อเมฆพัด" เป็นโลหะที่ได้จากการเล่นแร่แปรธาตุ ตามตำราของไทยโบราณเชื่อว่า เป็นธาตุกายสิทธิ์ มีฤทธานุภาพในตัวเอง
เมฆพัดเป็นส่วนผสมของตะกั่ว และทองแดง มีกรรมวิธีการสร้างที่ซับซ้อน ในระหว่างหลอมต้องผสมตัวยาหลายชนิด มีกำมะถัน ปรอท และว่านยา ได้แก่ ไพลดำ ต้นหิงหาย ไม้โมกผา ขิงดำ กระชายดำ สบู่แดง สบู่เลือด เป็นต้น ซัดเข้าไปในเบ้าหลอม
พอสำเร็จจะได้โลหะสีดำ เป็นมันเงาเลื่อมพราย แต่เปราะและแตกง่าย พระคณาจารย์แต่โบราณนิยมหลอมเมฆพัดมาทำเป็นพระเครื่อง



พระปิดตาเนื้อเมฆพัด มีการสร้างหลายวัดด้วยกันนั้น และมีการจัดเข้าเป็น ชุดเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อเมฆพัด เหมือนกัน ได้แก่ ๑.พระปิดตาหลวงปู่นาค โชติโก วัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม ๒.พระปิดตาหลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง จ.ราชบุรี ๓.พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน จ.ราชบุรี ๔.พระปิดตาหลวงปู่ทิม วัดบางปลา จ.นครปฐม และ ๕.พระปิดตาหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม

ในบรรดาพระปิดตาเนื้อเมฆพัดด้วยกันแล้ว แต่ไหนแต่ไรมาบรรดานักเลงพระเขายกให้ พระปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ เป็นสุดยอดอันดับหนึ่งของพระปิดตาเนื้อเมฆพัดด้วยกันทั้งหมด

สมัยก่อนพระปิดตาสำนักนี้มีชื่อเรียกติดปากกันว่า "พระปิดตาห้วยจระเข้" ถือว่าเป็นพระปิดตาที่มีประสบการณ์เยี่ยมยอดด้านคงกระพันกับมหาอุดเป็นที่ สุด ส่วนทางเมตตามหานิยมกับโชคลาภ ก็ไม่เบาเหมือนกัน



จะเห็นได้ว่า พระปิดตาเนื้อเมฆพัดที่วงการนิยมกันสูงๆ จะเป็นพระปิดตาที่มีแหล่งกำเนิดในเขต จ.นครปฐม และจังหวัดใกล้เคียง อีกทั้งพระเนื้อเมฆพัดพิมพ์อื่นๆ ก็มักจะมีการสร้างโดยสำนักต่างๆ ที่อยู่ในละแวกนี้ด้วย

หลวงปู่นาค สร้างพระปิดตามหาอุด เนื้อเมฆพัด เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๒ ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ และถือว่าเป็นพระปรมาจารย์เมืองนครปฐมในสมัยแรก เป็นต้นตำรับพระปิดตาเนื้อเมฆพัด

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ และ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังสนามจันทร์ จะต้องเสด็จมาทรงแวะนมัสการหลวงปู่นาคเป็นประจำ และหลวงปู่นาคได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระปิดตาแด่สองพระองค์ไว้ทรงบูชาคู่พระวรกายด้วย

นอกจากนี้ หลวงปู่นาคยังเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการสร้างเนื้อ เมฆพัดมาก การผสมเนื้อแร่ต่างๆ การปั้นพิมพ์ และการเทหล่อองค์พระ ท่านทำด้วยตัวท่านเอง

องค์พระที่ท่านหล่อออกมาสวยงาม ไม่มีรอยตะเข็บ ไม่เป็นฟองอากาศ เนื้อพระเป็นสีดำอมเขียว สีดำเงาคล้ายปีกแมลงทับ สวยงามพิสดาร เนื้อพระผิวตึง สมบูรณ์แบบด้านรูปทรง
ว่ากันว่า หลวงปู่นาค กับ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว มีความสนิทสนมกันมาก เป็นสหธรรมิกรุ่นน้อง และมีการแลกเปลี่ยนวิชาซึ่งกันและกันด้วย โดยหลวงปู่บุญขอเรียนวิชาการสร้างเนื้อเมฆพัดไปจากหลวงปู่นาค ส่วนหลวงปู่นาคได้ขอเรียนวิชาอื่นๆ จากหลวงปู่บุญ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน

เอกลักษณ์ของพระปิดตาห้วยจระเข้ นอกจากจะดูพิมพ์เป็นหลักแล้ว พระปิดตาห้วยจระเข้จะต้องมีการลง เหล็กจาร ทุกองค์ด้วย

ในการลงเหล็กจารนั้น มีเรื่องเล่ากันว่า หลวงปู่นาคท่านนำเอาพระปิดตาที่สร้างเสร็จแล้วไปลงเหล็กจาร ที่ท่าน้ำข้างๆ วัด โดยท่านจะดำลงไปจารอักขระใต้น้ำ เมื่อจารเสร็จแล้วจะปล่อยให้พระปิดตาลอยขึ้นมาเหนือน้ำเอง โดยมีลูกศิษย์ที่อยู่บนฝั่งคอยเก็บ
ถ้าพระปิดตาองค์ไหนลงจารแล้วไม่ลอยน้ำขึ้นมา แสดงว่าพระปิดตาองค์นั้นไม่มีพลังพุทธคุณ อันอาจจะเกิดอักขระวิบัติ จากการจารอักขระก็ได้

จากพิธีกรรมการสร้างอันเข้มขลังนี้เอง จึงทำให้พระปิดตาวัดห้วยจระเข้เป็นจักรพรรดิของพระปิดตาเนื้อเมฆพัดทั้งปวง

ชาติภูมิของหลวงปู่นาคนั้น ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๘ (ร.ศ.๓๕) ตรงกับปีกุน จ.ศ.๑๑๗๗ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ พัทธสีมาวัดพระปฐมเจดีย์ ตรงกับ พ.ศ.๒๓๗๙ พระอุปัชฌาจารย์ไม่ปรากฏนาม ทราบแต่พระกรรมวาจาจารย์ คือ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระปฐมเจติยานุรักษ์ (หลวงปู่กล่ำ) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ได้รับฉายา "โชติโก"
หลวงปู่นาคได้เป็นผู้สร้างวัดห้วยจระเข้ร่วมกับประชาชน ปกครองวัดมานาน ๑๑ ปี ถึงกาลละสังขารเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ ด้วยโรคชรา รวมอายุได้ ๙๕ ปี ๗๔ พรรษา
ก่อนที่หลวงปู่นาคจะมรณภาพ ท่านได้ถ่ายทอดวิชาการสร้างพระปิดตาให้ หลวงปู่ศุข ลูกศิษย์ ซึ่งต่อมาหลวงปู่ศุขได้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ต่อจากหลวงปู่นาค หลวงปู่ศุขนับเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้โด่งดังอีกท่านหนึ่งในยุคต่อมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น